Your cart is currently empty!
Author: admin
ขวดนมของเด็กแรกเกิด วิธีเลือกและการใช้งานขวดนมสำหรับคุณแม่
นอกจากการดูดนมแม่จากเต้าแล้ว การใช้ขวดนมเป็นอีกสิ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะการเลือกขวดนมเด็กแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทั้งขนาด วัสดุที่ใช้ ราคา และยังมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซึ่งหลังจากเริ่มให้ลูกดูดนมจากเต้าแล้ว การแนะนำลูกให้เริ่มใช้ขวดนมก็เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่จำเป็น เพื่อต่อยอดไปสู่การดื่มนมจากแก้วหรือกล่อง เพื่อให้คุณแม่ได้พักเต้าและมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น สำหรับการเลือก ขวดนม ให้กับลูกนั้น จะมีปัจจัยอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ ให้ลูกเริ่มใช้ขวดนม ตอนอายุเท่าไหร่? นานแค่ไหน? การเริ่มต้นให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (Bottle-Feeding) สามารถเริ่มได้ทันทีหลังจากลูกเริ่มดูดนมจากเต้า แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรให้เริ่มดูดนมจาก ขวดนมเด็ก หลังจากลูกมีอายุ 3 – 4 สัปดาห์ เหตุผลเพราะว่า เด็กแรกเกิดจะยังต้องทำความคุ้นชินกับการดูดนม ต้องมีแม่คอยดู คอยป้อนและทำให้ลูกรู้ว่าเขากำลังดูดนมอย่างปลอดภัย และ อบอุ่น นอกจากนี้ การที่ลูกดูดนมจากเต้ายังเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่ เพื่อที่ร่างกายจะรับรู้และเร่งผลิตน้ำนม ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก ช่วยให้คุณแม่สามารถปั๊มนมสำรองไว้ได้มากพอสำหรับการให้ลูก เพื่อให้ลูกน้อยหัดดูดนมจากขวดนมอีกด้วย ในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณแม่ควรให้นมลูกปริมาณ 1 – 2 ออนซ์ เป็นประจำทุก 3 – 4 ชั่วโมง ลูกจะมีอาการงอแงบ้างเวลาหิวและจะนิ่งสงบเมื่อได้ดื่มนม ได้รับการกอด อุ้ม…
เปิดตำราอาหาร 8 เพิ่มน้ำนมเพื่อลูกน้อย จากคุณแม่ตัวจริง
คุณแม่หลายๆ คนคงจะได้ยินคำแนะนำจากคุณแม่รุ่นเก๋าระดับมืออาชีพกันมาบ้าง ว่าจากตำราในสมัยโบราณเชื่อว่าสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นอาหารเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับคุณแม่แล้วอาหารการกินเป็นเรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ก็จะต้องมีอาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง และในบทความนี้ เราจะพาคุณแม่ทั้งหลายเข้าครัวเลือกวัตถุดิบเพื่อทำอาหารเพิ่มน้ำนม ให้น้ำนมมีคุณภาพและหลั่งดีมากขึ้น รวมไปถึงเคล็ดลับการบำรุงน้ำนมเพื่อส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกน้อย ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละอย่างหาซื้อได้ง่ายและเชื่อว่าหลายบ้านคงจะมีติดครัวกันอยู่แล้ว สาเหตุที่ทำให้คุณแม่น้ำนมน้อย ก่อนที่จะส่องวัตถุดิบอาหารเพิ่มน้ำนม คุณแม่ๆ คงจะอยากรู้ว่าต้นสายปลายเหตุของการหลั่งน้ำนมที่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยมีอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับแก้และดูแลอย่างถูกจุดมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมีได้ดังต่อไปนี้ ความเครียด ใช้ยาหรืออาหารเสริมเกินจำเป็น ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เต้านมไม่ได้รับการกระตุ้น เจ็บหัวนม (sore nipples) เต้านมคัด มีประวัติการผ่าตัดเต้านมมาก่อนหน้า ทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารน้อย หรือไม่เพียงพอ เปิดตำราพาคุณแม่หาวัตถุดิบอาหารเพิ่มน้ำนม 1. ใบกะเพรา วัตถุดิบแรก พาคุณแม่มาเริ่มต้นกันที่ผักคู่ครัวที่นอกจากจะเป็นเมนูโปรดของใครหลายคนแล้วยังมีสรรพคุณที่ดีเยี่ยม เพราะความร้อนจากใบกะเพราที่มีฟอสฟอรัส และแคลเซียมสูง สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มน้ำนมของคุณแม่ได้ รวมไปถึงหากลูกน้อยได้รับสารอาหารนี้ไปในน้ำนมจะช่วยทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กได้อีกด้วย เมนูแนะนำ: ผัดกะเพรา หรือต้มจืดใบกะเพราหมูสับ 2. ขิง วัตถุดิบถัดมาเชื่อว่าคงอยู่คู่ครัวคนไทยข้างๆ กันกับวัตถุดิบแรก เพราะมีสรรพคุณเจ๋งๆ มากมาย ขิงเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ อย่างเช่นการช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดได้ดี มีวิตามินเอ บี 1 บี 2…
ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่
ในช่วงแรกเกิด นอกจากคุณแม่จะต้องดูและหมั่นตรวจสอบ พัฒนาการของลูกน้อยแล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหนึ่งในอาการที่พบได้ในวัยทารกคือ อาการท้องผูก เพราะบางครั้งทารกได้รับสารอาหารและมีการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ วันนี้มาดูรายละเอียดกันค่ะ ว่าคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยและมีวิธีป้องกันลูกจาก อาการท้องผูก อย่างไรบ้าง วิธีการสังเกตอาการท้องผูกสำหรับทารก การสังเกตอาการท้องผูกของทารก มีจุดสังเกตที่คุณแม่สามารถตรวจสอบอาการของลูกน้อยได้ ดังนี้ ทารกมีอาการอึดอัด ร้องไห้ และไม่สบายตัวในช่วงที่ขับถ่าย อุจจาระ/กลิ่นลม มีกลิ่นเหม็นคลุ้งผิดปกติ เพราะโดยทั่วไปทารกจะดื่มนมแม่เป็นหลักและอุจจาระที่มาจากนมแม่จะไม่มีกลิ่นแรง ทารก ทานอาหารได้น้อยลงอย่างชัดเจน มีการเบื่ออาหารไม่สามารถทานได้ตามปกติ เมื่อกดท้องเบาๆ จะพบว่าท้องแข็ง ไม่สามารถกดลงไปได้มาก สาเหตุที่ลูกท้องผูกมีอะไรบ้าง? เด็กทารกแต่ละช่วงวัย มักจะมีสาเหตุของอาการท้องผูกที่แตกต่างกันไปค่ะ ลองดูสาเหตุของอาการท้องผูกในแต่ละช่วงวัยกัน สาเหตุของอาการท้องผูกของลูกตั้งแต่เกิด ถึง 6 เดือน 1. ลูกแพ้โปรตีนในน้ำนม โดยทั่วไปน้ำนมแม่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด พร้อมกับมีโปรตีนและไขมัน ที่ช่วยให้อุจจาระจับตัวได้ดี ย่อยง่ายส่งผลให้ขับถ่ายได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีนั้น ทารกมีอาการแพ้ และไม่สามารถย่อยโปรตีนหรือสารอาหารบางอย่างที่คุณแม่ทานเข้าไปและส่งผ่านไปยังทารก จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ 2. ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ จึงไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 3. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิดคือหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก…
น้ำนมน้อยทำยังไงดี? พร้อมเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่
คงจะมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ที่กำลังประสบปัญหา น้ำนมน้อย ไม่เพียงพอให้ลูกรักดื่ม จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่าน เพราะกังวลว่าลูกน้อยจะรับสารอาหารสำคัญไม่เพียงพอ ซึ่งตามหลักทางโภชนาการแล้ว น้ำนมแม่ถือว่ามีสารอาหารสำคัญมากที่สุด เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กอีกด้วย วันนี้เราเลยอยากจะชวนคุณแม่ทุกท่านมาไขข้อข้องใจ ว่าปัญหาน้ำนมน้อยนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะมีเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่อย่างไรให้ลูกรักดื่ม ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ น้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร ? กระบวนการการผลิตน้ำนมนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติน ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำนม แต่ยังไม่หลั่งออกมาเพราะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากเด็กทารกคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งอยู่ หลังจากที่คุณแม่คลอดเด็กทารกแล้ว ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เคยหลั่งเพื่อสร้างเด็กทารกก็จะหลั่งน้อยลงจนหยุดลงในที่สุด ส่งผลให้กลไกการยับยั้งน้ำนมหายไป เมื่อลูกน้อยได้ดื่มก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินให้หลังมากขึ้น ซึ่งถ้ายิ่งหลั่งมาก ก็จะเกิดการผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นมากเท่านั้นนั่นเอง สารอาหาร และ ประโยชน์ของน้ำนมแม่ ในน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยมาก โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะได้ดังนี้ ระยะที่ 1: “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” จะผลิตออกมาในช่วง 1 –…
พัฒนาการเด็ก 0 – 6 เดือน คุณแม่ควรรู้เพื่อพัฒนาการสมวัย
นอกเหนือไปจากเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว อีกหนึ่งเรื่องคุณแม่มือใหม่หลายท่าน มักจะวิตก กังวลและเครียดไปกับ ลูกคนแรก ทั้งการ กิน ดื่ม ขับถ่าย นอนหลับ และอีกมากมาย ที่เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการเด็กในช่วงวัยนี้ เราจะมีวิธีการดูแลและเสริมพัฒนาการอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรามีเคล็บลับง่ายๆ สำหรับการดูแล เสริมพัฒนาการเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก มาฝากกัน พัฒนาการเด็กทารก คืออะไร? นับตั้งแต่เริ่ม ตั้งครรภ์ กับช่วงเวลาอุ้มท้อง 36-40 สัปดาห์ที่คุณแม่ทุกคนจะได้พบหน้ากับลูกน้อยเป็นครั้งแรก การตรวจสอบพัฒนาการของเด็กก็ถูกกำหนดขึ้น จากการที่ทารกนั้น สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ ตามช่วงวัย โดยเป็นการตอบสนองทางร่างกาย การเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ได้สังเกตได้ง่ายขึ้นว่า ตอนนี้ลูกน้อยมีพัฒนาการปกติหรือไม่อย่างไรบ้าง พัฒนาการเด็ก 1 เดือน มีการมองตามวัตถุ หรือ คนที่เคลื่อนไหวต่างๆ หันเอียงคอได้บ้าง ตอบสนองต่อเสียง การอุ้มทารก ช่วยให้เด็กรับรู้ถึงความปลอดภัย ลดการร้อง ตื่นตระหนกกับเสียงที่ไม่คุ้นเคย และ เริ่มรับรู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงพ่อ-แม่ การเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ทารกวัยแรกคลอด จนถึง…
นวดทารก อย่างปลอดภัย กระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธี
หลังจากที่เรามีการแนะนำการนวดเพื่อกระตุ้นน้ำนมสำหรับคุณแม่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาคุณแม่มาดูการนวดทารก (Infant Massage) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก และ การวิจัยยังพบว่าการนวดทารก ช่วยสร้างความผูกพันของแม่และเด็กได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจะมาทำเสนอวิธีการนวดทารกแบบง่ายๆ ทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังของการนวดต่างๆ ด้วย การนวดทารกมีประโยชน์อย่างไร? กระตุ้นพัฒนาการ เด็กวัยแรกเกิดนั้นยังมีระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ การนวดคลึงเบาๆ ทั้งนวดลำตัว นวดหน้าท้อง นวดฝ่ามือ นวดฝ่าเท้า จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดของทารก ทำงานได้ดีขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายทารก เมื่อระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กก็จะพัฒนาตามไปด้วย เสริมการเรียนรู้ จากการวิจัยพบว่าทารกที่ได้รับการสัมผัสร่างกายบ่อยๆ จะมีอารมณ์ที่ดีขึ้น มีอาการตื่นตระหนกน้อยลง มีการตอบสนองต่างๆ ดีขึ้น ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ทารกที่ได้รับการนวด จะมีการย่อยอาหาร การเรอ การขับถ่ายที่ดีกว่าเดิม เริ่มนวดทารกได้เมื่อไหร่? การนวดทารกสามารถเริ่มได้ทันที แต่สำหรับการนวดกดและลงแรงจะเริ่มได้หลังจากเด็กคลอดมา 3 – 4 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะในช่วงแรกคลอดนั้น ข้อต่อและกระดูกของทารกยังไม่แข็งแรงพอ การนวดหรือกดแรงเกินไป อาจเกิดอันตรายขึ้นกับร่างกายของเด็ก นวดทารกต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง? น้ำอุ่น น้ำมันนวด หรือ เบบี้ออยล์ ผ้าขนหนู วิธีการนวดทารก เริ่มต้นให้คุณพ่อหรือคุณแม่ล้างมือในน้ำอุ่น…
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดสำหรับคุณแม่มือใหม่ทำความเข้าใจ พร้อมวิธีป้องกัน
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues) เรื่องใกล้ตัวของคุณแม่มือใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจ รู้จักอาการของภาวะเหล่านี้ และที่สำคัญที่สุดรู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า รวมไปถึงเข้าใจลักษณะอาการของคนที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดว่ามีอาการอย่างไรบ้าง ต่างจาก โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) อย่างไร พร้อมวิธีดูแลตัวเอง ลดความเสี่ยงของอาการเหล่านี้เพื่อคุณแม่มือใหม่ได้เตรียมรับมือค่ะ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blue) คืออะไร? ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด(Baby Blue) คือ การเกิดสภาวะทางจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณแม่ที่คลอดลูกน้อยทุกคนมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกันเป็นปกติ ตามสถิติแล้วคุณแม่มีโอกาสมากถึง 50 – 85 % ที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากคลอดใหม่ อาหารของ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blue) อาการที่อาจจะพบได้ระหว่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มีดังนี้ค่ะ ซึมเศร้า ร้องไห้หลังคลอด อารมณ์ แปรปรวน นอนไม่หลับ มีปัญหาในการตัดสินใจ และจัดการกับอารมณ์ รู้สึกว่าดูแลลูกไม่ได้ดี ถ้าคุณแม่เริ่มรู้สึกกลัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ อยากทำร้ายตัวเองหรือลูก คุณแม่ต้องรีบหาความช่วยเหลือ ติดต่อกรมสุขภาพจิต 1323 นะคะ การเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร? สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มีปัจจัยหลักคือ…
Baby Led Weaning: BLW ฝึกลูกหยิบอาหารกินเองโดยไม่ต้องป้อน
หลังจากทานแต่นมแม่มาตลอดหกเดือน ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะคะ ที่ลูกจะต้องใช้เวลาปรับตัวในการทานอาหารทั่วไป และวิธีการฝึกทานอาหารที่เราคุ้นชินกันส่วนใหญ่ก็คือการต้ม บด ป้อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหารไปเรื่อยๆ ซึ่งวิธีแบบนี้เราเรียกันว่า Traditional Weaning (TW) ค่ะ แต่ช่วงที่ผ่านมาเราเริ่มได้ยินคำว่า Baby Led Weaning (BLW) มากขึ้น เช่นเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ก็มีพูดถึง BLW ไว้ค่ะ เป็นทางเลือกที่ช่วยฝึกพัฒนาการลูกไปพร้อมๆ กับการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยน้อยลง เพราะไม่ต้องเตรียมบด ปั่น อาหารเป็นเวลานาน แล้วต้องเดินตามป้อนลูกไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน วันนี้มาลองดูกันว่า BLW คืออะไร? แล้วเราจะเริ่มสอนลูกให้ทานอาหารเองได้ยังไงได้ค่ะ 🙂 BLW คืออะไร? Baby Led Weaning หรือ BLW คือการฝึกให้ลูกทานอาหารแข็งด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ต้องป้อน ไม่ต้องใช้ช้อน ไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารก่อนค่ะ โดยจะเน้นอาหารนิ่มๆ ก่อน และเน้นให้ลูกจับไว้ในมือได้ถนัด แล้วก็ให้ลูกจับกินเองเลยค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สัมผัสของอาหาร แม้จะดูเหมือนเล่นในช่วงแรก แต่ก็เป็นอาการฝึกพัฒนาการด้าน Sensory Play อย่างนึงค่ะ…
Executive Functions คืออะไร? กิจกรรมและวิธีสอน EF
Mommylicious Juice มีกิจกรรมดีๆ ในการช่วยเพิ่มความสนุกสนาน และเสริมสร้างทักษะ EF กระตุ้นพัฒนาการของเด็กๆ มาแนะนำเป็นไอเดียในการช่วยพัฒนา Executive functions ให้กับลูกกัน มาพับกับบทความ Executive functions ที่ดีที่สุดจากเรา Executive Functions คืออะไร? EF หรือ Executive functions คือ ทักษะที่ช่วยในด้านการคิดซึ่งทำงานในส่วนของสมองส่วนหน้า ช่วยในการเชื่อมข้อมูลความทรงจำจากในอดีตให้ผสมผสานเข้ากับช่วงเวลาปัจจุบัน รวมไปถึงทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การพลิกแพลง และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ เข้าสังคม หรือทำงาน ถ้าลูกมีปัญหาด้าน Executive functions อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถโฟกัสกับกิจกรรม ทำตามคำบอก เดินทางตามแผนที่ หรือควบคุมของตัวเองได้ และการฝึกทักษะ EF ให้กับลูก จะช่วยให้ลูกสามารถใช้ความคิด และใช้เหตุผลได้ดี สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม Executive Functions ประกอบด้วยอะไรบ้าง? Executive Functions ประกอบไปด้วย 8 ด้านหลักๆ คือ การรับรู้ (Awareness) การวางแผน…
ท่าโยคะคนท้องที่ง่าย ปลอดภัย ช่วยให้คลอดง่าย (ฟรี)
การฝึกโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างมาก เป็นเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับคุณแม่ก่อนคลอดได้ดี เป็นการคลายปวดเมื่อย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้อง แถมยังช่วยให้คลอดง่ายอีกด้วย มาดูท่าโยคะสำหรับคนท้องที่คุณแม่เล่นได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการเตรียมตัว และข้อควรระวังกันค่ะ ข้อควรรู้และวิธีเตรียมตัวก่อนการฝึกโยคะระหว่างตั้งครรภ์ เลือกสถานที่เล่นโยคะที่เหมาะสม คุณแม่ควรเลือกสถานที่ ในการเล่นโยคะที่มีแสงสว่างเพียงพอ มีอากาศถ่ายเทที่ดี ที่จะช่วยให้คุณแม่มีความผ่อนคลาย และสามารถฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกแผ่นโยคะที่มีคุณภาพ คุณแม่ควรเลือกแผ่นโยคะที่มีความแข็งแรง เลือกใช้แผ่นโฟมที่มีคุณภาพดี สามารถทำความสะอาดและพับเก็บได้ง่าย เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายสำหรับคนท้อง คุณแม่ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าขณะเล่นโยคะที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีการระบายอากาศที่ดี จะช่วยให้มีความคล่องตัวที่สุด เลือกท่าโยคะที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น จำเป็นต้องเลือกท่าโยคะที่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยงท่าที่อาจทำให้เกิดความอันตราย เช่น ท่าสุนัขก้มหน้า หรือการทำโยคะในห้องร้อนที่อาจเกิดความอันตรายกับลูกในท้องได้ ปรึกษาคุณหมอก่อนการเล่นโยคะ ก่อนคุณแม่จะเล่นโยคะ ก็จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนการเล่นโยคะทุกครั้ง อีกทั้งควรปรึกษาครูฝึกโยคะ เพื่อขอคำแนะนำที่จะสามารถเล่นโยคะได้อย่างปลอดภัยที่สุด ข้อดีของการเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่มีสายใยเชื่อมโยงกับลูกในท้อง การเล่นโยคะ จะช่วยให้คุณแม่ได้ฝึกสมาธิ และเป็นการเพิ่มสายใยความผูกพัน กับลูกในท้องได้เป็นอย่างดีค่ะ ลูกในท้องหาจุดที่เหมาะสมในท้อง การเล่นโยคะของคุณแม่ จะช่วยให้ลูกตัวน้อยในครรภ์ สามารถหาจุดที่เหมาะสม ที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยนอนอยู่ในท้องของคุณแม่ได้สบาย ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้รวดเร็ว การฝึกโยคะ จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่หลังคลอด มีการฟื้นฟู และสามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้เหมือนช่วงก่อนคลอดได้อย่างรวดเร็ว สุขภาพของคุณแม่และลูกแข็งแรง การออกกำลังกายอย่างการฝึกโยคะนั้น จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่และลูกในท้องมีความแข็งแรง อีกทั้งยังมีงานวิจัยออกมาแล้วว่ายังช่วยลดโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด คลอดง่าย นอกจากจะช่วยจัดท่าลูกแล้ว โยคะจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ยืดหยุ่น ผ่อนคลาย ลดการเกร็งตึง…