การเก็บรักษานมแม่ หรือที่เรียกกันว่าการสต็อกนมถือเป็นวิธีสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรทราบ เพราะหากเก็บรักษาหรือนำออกมาใช้อย่างไม่เหมาะสม นมที่เราอุตส่าห์ตั้งใจปั๊มไว้อาจจะเสียได้นะคะ Mommylicious Juice จึงอยากนำวิธีเก็บน้ำนมแม่ รักษาสต็อกน้ำนมแม่ให้อยู่นานที่สุดและการนำนมออกมาให้ลูกดื่มมาฝากกันค่ะ
เก็บน้ำนมแม่ไว้ได้นานแค่ไหน?
ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอุณหภูมิที่เหมาะสมค่ะ
การเก็บนมนอกห้องแอร์
หากปั๊มนมแล้ววางไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติไม่ใช่ห้องแอร์ อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้ ภายใน 1 ชั่วโมง หากอุณหภูมิสูงกว่านั้น หรือปล่อยให้เกินเวลาจะทำให้เกิดเชื้อโรคปนเปื้อนในนมได้ค่ะ
การเก็บนมในห้องแอร์
หากปั๊มนมวางไว้ในห้องแอร์ ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส น้ำนมเหล่านี้จะสามารถอยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมงค่ะ
การเก็บนมในกระติกน้ำเเข็ง
สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มจากที่ทำงาน หรือปั๊มนมจากนอกบ้าน การแช่นมในกระติกน้ำแข็ง ควรวัดให้มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถเก็บน้ำนมไว้ได้ 24 ชั่วโมง
การเก็บนมในตู้เย็น
ช่องธรรมดา
การเก็บน้ำนมในช่องธรรมดาควรมีอุณหภูมิ ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถ เก็บน้ำนมไว้ได้ 5 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นแบบประตูเดียว
ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน -10 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถเก็บนมได้ถึง 2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็นแบบประตูแยก
โดยมักจะมีอุณหภูมิต่ำสุด -20 องศาเซลเซียส จะสามารถเเช่น้ำนมไว้ได้ยาวนานถึง 3 เดือน
ตู้แช่เเข็ง
หากเป็นตู้แช่เเข็งโดยเฉพาะ แบบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส คุณแม่สามารถเก็บน้ำนม ไว้ได้ถึง 6 เดือน
การใช้นมสต็อก
การนำนมในสต็อกออกมาใช้อย่างถูกวิธี มีผลกับคุณภาพของน้ำนมที่เหมาะกับลูกมากเลยค่ะ ลองมาดูกันว่าจะต้องนำน้ำนมที่เก็บเอาไว้มาใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นมอุณหภูมิปกติ หากลูกทานนมในขวดไม่หมด ควรทิ้งทันที เพราะหากนำกลับไปแช่อาจมีสารหรือเชื้อปนเปื้อนทำให้ลูกป่วย
- นมที่เก็บในอุณหภูมิ สูงกว่า 37 องศา ไม่ควรให้ลูกดื่ม เพราะอาจมีเชื้อปนเปื้อนได้
- นมแช่เย็น หลังจากนำออกจากช่องแช่เย็นควรพักไว้ในน้ำสะอาด ประมาณ 5 นาที เพื่อให้ความเย็นลดลงค่ะ
- นมแช่แข็ง ควรย้ายจากช่องแช่เเข็งมาใส่ในช่องเย็นธรรมดา ประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วจึงนำเอามาพักไว้ในน้ำสะอาด ประมาณ 5 นาทีค่ะ
- ไม่ควรอุ่นนมด้วยไมโครเวฟ หรือแช่น้ำร้อนเพราะทำให้สารอาหารหายไปจากนม น้ำนมที่คุณแม่แช่เเข็งเอาไว้ หากต้องการนำมาใช้ ควรเลือกใช้วิธีเทน้ำอุ่นลงในถ้วย แล้วนำถุงนมสต็อกลงไปแช่ไว้ให้น้ำนมที่จับตัวเป็นน้ำแข็งค่อยๆละลาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณค่าทางอาหารไม่เสียไป และเป็นการอุ่นนมที่คุณหมอแนะนำนั่นเองค่ะ
เคล็ดลับในการใช้นมสต็อกอย่างถูกต้อง
เก็บให้พอดีกับความต้องการในแต่ละมื้อ
การเก็บสต็อกนมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดโดยไม่เหลือทิ้งเลยก็คือ คุณแม่ควรกะปริมาณของนมที่ลูกจะดื่มในแต่ละครั้ง แล้วทำการแบ่งนมใส่ถุงเก็บน้ำนมให้พอดีกับความต้องการของลูก หากคุณแม่ไม่กะปริมาณให้ดี อาจทำให้น้ำนมในมื้อนั้นๆเหลือทิ้งได้นั่นเองค่ะ
ปั๊มแล้วต้องแช่เเข็งทันที
หากคุณแม่ได้ทำการปั๊มนมเสร็จแล้วต้องนำนมไปแช่ในตู้เเช่เย็นช่องแข็งทันทีนะคะ เพื่อให้ความเย็นช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารในนมไว้ให้ได้มากที่สุด หากคุณแม่จำเป็นต้องปั๊มนมในที่ทำงาน อาจเลือกใช้วิธีการซื้อตู้เเช่เอาไว้ในที่ทำงานก็จะช่วยเก็บรักษานมไว้ได้ดีที่สุดค่ะ
สต็อกนมเท่าที่จำเป็น
หากคุณแม่จำเป็นต้องเดินทางออกมาทำงาน ก็จำเป็นที่จะต้องสต็อกนมเอาไว้ให้ลูกดื่ม แต่การสต็อกนมเอาไว้มากเกินไป ก็อาจทำให้นมล้นตู้เย็น อีกทั้งคุณค่าทางอาหารภายในนมจะลดลงอีกด้วย หากทำการเห็บนมไว้เป็นเวลานาน ทางที่ดีที่สุดคือ สต็อกนมเท่าที่จำเป็น ให้เพียงพอกับช่วงเวลาที่คุณแม่เดินทางออกไปทำงานข้างนอก และเมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็ควรเลือกใช้วิธีเอาลูกเข้าเต้า เพื่อให้เค้าได้ดื่มนมสดๆที่มีสารอาหารที่ครบถ้วนที่สุด และช่วยให้สายสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกแน่นเเฟ้นขึ้นอีกด้วยค่ะ
เก็บนมใส่ในถุงเก็บน้ำนมเท่านั้น
หากคุณแม่ทำการเก็บนมใส่ภาชนะอื่นๆ ที่ไม่ใช่ถุงน้ำนม อาจส่งผลให้นมเหล่านั้นสูญเสียคุณค่าทางอาหาร และอาจทำให้น้ำนมเสียเร็วได้ค่ะ ฉะนั้น หากต้องการเก็บสต็อกนม ก็ควรเลือกเก็บในถุงใส่น้ำนมจะดีที่สุดค่ะ
วิธีเก็บรักษานมแม่ไม่ให้มีกลิ่นเหม็นหืน
นมสต๊อกมีกลิ่นหืน ปัญหาหนักใจของแม่หลายคน อุตส่าห์ปั๊มเก็บไว้แต่ลูกไม่ยอมดื่มนมสต๊อก Mommylicious Juice จะมาแนะนำวิธีเก็บนมแม่อย่างไรไม่ให้มีกลิ่นหืน ให้คุณแม่ที่กำลังเจอกับปัญหานี้ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่ทราบถึงวิธีการเก็บนมที่ถูกต้องได้ลองนำไปใช้กันค่ะ
พยายามไม่เก็บนมไว้นานเกินไป
หากเป็นไปได้ พยายามปั๊มนมให้ลูกดื่มวันต่อวัน หรือหากเป็นนมสต๊อกแช่แข็งควรนำนมที่แช่ไว้นานสุดเวียนออกมาใช้ก่อนตามลำดับ และควรกะปริมาณสต๊อกนมแต่พอดีกับการกินของลูก นมจะได้ไม่แช่ในสต๊อกนานจนเกินไป
หลังปั๊มนมให้แช่เเข็งให้เร็ว
หากคุณแม่ปั๊มนมแล้วปล่อยให้นมอยู่ในอุณหภูมิปกติเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิดกลิ่นหืนในนม และยังเสี่ยงต่อการที่นมจะเสียง่ายอีกด้วยค่ะ ฉะนั้นหลังจากปั๊มนมเสร็จแล้วให้คุณแม่รีบนำนมแช่เย็น หรือแข่เเข็งให้เร็วที่สุดค่ะ
ทำความสะอาดที่ปั๊มนมให้ดี
หากเครื่องปั๊มนมมีสิ่งสกปรกติดอยู่และทำการล้างทำความสะอาดไม่ดี ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อโรค และปนเปื้อนไปกับนมได้ค่ะ จึงควรทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมและตากให้แห้งทุกครั้งหลังใช้งาน
ไม่แช่นมรวมกับอาหารอื่น
การแช่นมรวมกับอาหารอื่นๆในตู้เย็นจะทำให้เกิดกลิ่นอาหารซึมเข้าไปในถุงเก็บนม นมจึงเหม็นหืน เและอาจมีเชื้อต่างๆปนเปื้อน ถ้าเป็นไปได้ ควรแยกชั้น หรือแยกตู้ไปเลยค่ะ
รีดอากาศออกจากถุงนม
ก่อนแช่นมทุกครั้ง คุณแม่จำเป็นต้องรีดอากาศที่อยู่ในถุงให้เกลี้ยงก่อนนำไปแช่ เพื่อลดกลิ่นเหม็นหืนค่ะ อย่าลืมระวังถุงขาดด้วยนะคะ
ไม่แช่นมซ้ำ
หากคุณแม่นำนมที่แช่แข็งมาละลายน้ำแล้ว ลูกทานไม่หมด ก็ควรทิ้งไปเลยนะคะ เพราะถ้านำกลับมาแช่ซ้ำ จะเกิดกลิ่นเหม็นหืน รวมถึงอาจทำให้นมเสียได้ง่ายด้วยค่ะ
บำรุงน้ำนมแม่ ให้มีสต๊อกใช้ได้ไปนานๆ
คุณแม่สามารถบำรุงน้ำนมได้หลายวิธี เช่นการเลือกอาหารที่ทาน หรือการนวดกระตุ้นเต้านม การดื่มเครื่องดื่มกระตุ้นน้ำนมเช่นน้ำหัวปลี Mommylicious Juice ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณแม่บำรุงน้ำนมได้ง่ายๆ ทุกที่ ทุกเวลา กับแพ็คเกจสวยงาม รสชาติอร่อยไม่เติมน้ำตาล นวัตกรรมของคนไทยที่ได้รางวัลระดับโลกมาแล้วค่ะ
เก็บน้ำนมแม่ยังไงดีที่สุด?
อุณหภูมิและความสะอาดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการเก็บสต็อกน้ำนมแม่ ตู้แช่เเข็งโดยเฉพาะ แบบที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส จะช่วยให้คุณแม่สามารถเก็บน้ำนมไว้ได้นานที่สุดถึง 6 เดือน
ส่วนการเก็บน้ำนมที่มีอุณหภูมิเกิน 37 องศา ไม่ควรให้ลูกทานเพราะไม่ปลอดภัย
เก็บนมแม่แล้วมีกลิ่นเหม็นหืนทำยังไง?
คุณแม่ควรสต็อกนมทันทีที่ปั๊ม แช่แข็งถ้าเป็นไปได้ ไม่เก็บนานเกินไป โดยการจัดระบบปั๊มก่อน-ใช้ก่อน ไม่แช่นมปนกับของอื่นๆ และไม่แช่นมซ้ำหลังใช้ค่ะ
เอานมแม่ที่สต็อกไว้มาเข้าไมโครเวฟได้ไหม?
การเอาน้ำนมแม่ที่เก็บไว้มาเข้าไมโครเวฟ จะทำให้สารอาหารเสียไปได้ค่ะ หากต้องการนำน้ำนมที่คุณแม่แช่เอาไว้มาใช้ ควรใช้วิธีเทน้ำอุ่นลงในถ้วย แล้วนำถุงที่ใส่นมสต็อกลงไปแช่ไว้ เพื่อให้น้ำนมที่จับตัวเป็นน้ำแข็งค่อยๆ ละลาย วิธีนี้จะช่วยให้คุณค่าทางอาหารไม่เสียไป และเป็นการอุ่นนมที่คุณหมอแนะนำนั่นเองค่ะ
One response to “วิธีเก็บน้ำนมแม่: เก็บรักษาสต็อกนมแม่ให้อยู่นานที่สุด”
[…] การเก็บรักษานมแม่ หรือที่เรียกกันว่าการสต็อกนมถือเป็นวิธีสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรทราบ เพราะหากเก็บรักษาหรือนำออกมาใช้อย่างไม่เหมาะสม นมที่เราอุตส่าห์ตั้งใจปั๊มไว้อาจจะเสียได้นะคะ […]