ความฝันของคุณแม่ทุกคนก็คือการให้ลูกน้อยของเราได้เติบโตอย่างแข็งแรง สุขภาพดี และมีความสุขใช่มั้ยล่ะคะ? ซึ่งประสบการณ์แรกที่สำคัญที่สุดของเจ้าตัวเล็กในโลกใบใหญ่กลมโตนี้ ก็คือสัมผัสจากแม่และน้ำนมแม่ที่จะช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของสมาชิกใหม่ ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและมั่นคง น้ำนมหยดแรกที่ลูกน้อยจะได้รับนั้น เราเรียกกันว่า Colostrum หรือ น้ำนมเหลือง เรียกได้อีกชื่อว่า หัวน้ำนมค่ะ เจ้าน้ำนมเหลืองนี้คืออะไร มีประโยชน์กับทารกอย่างไรบ้าง น้ำนมยังมีสีอื่นอีกหรือไม่ แล้วมีข้อควรระวังอะไรที่คุณแม่ควรรู้ไว้ วันนี้เรารวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับน้ำนมแม่เวอร์ชันอัปเดตล่าสุด เพื่อให้คุณแม่ทุกคนสามารถให้นมลูกได้อย่างสบายใจไร้กังวลไปด้วยกันค่ะ
น้ำนมเหลือง (Colostrum) คืออะไร?
น้ำนมเหลือง (Colostrum) คือ น้ำนมที่ร่างกายผลิตออกมาในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอดค่ะ หรือบางครั้งร่างกายของคุณแม่ก็อาจจะมีการเริ่มผลิตน้ำนมเหลืองตั้งแต่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์เลย ระหว่างนี้ถ้าลองเค้นดูเราอาจจะเห็นน้ำสีเหลืองใสออกมาจากเต้านมตั้งแต่ก่อนคลอด โดยน้ำนมของคุณแม่จะอยู่ในระยะน้ำนมเหลืองนี้ประมาณ 4-7 วันหลังคลอดเท่านั้นค่ะ
สำหรับคุณแม่มือใหม่ ถ้าเห็นว่าน้ำนมของเราไม่ขาวใสเหมือนนมวัว ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ การที่น้ำนมมีสีเหลืองนั้น ก็เพราะว่ามีเบต้าแคโรทีนอยู่ ซึ่งคือสารตัวเดียวกับที่อยู่ในผักผลไม้สีเหลืองส้ม เช่น แครอท หรือฟักทองค่ะ แต่น้ำนมเหลืองที่เราเรียกกัน อาจจะไม่ได้มีสีเหลืองเสมอไปนะคะ ที่จริงอาจจะเป็นน้ำใสๆ หรือว่าออกสีส้มก็ได้
น้ำนมแม่ในแต่ละระยะที่แตกต่างกัน
น้ำนมของคุณแม่แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง และจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หลังจากคลอดลูก จนหมดระยะให้นมค่ะ โดยแต่ละช่วงคือ
ระยะที่ 1: น้ำนมเหลือง (Colostrum)
น้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนม จะถูกผลิตออกมาในระยะแรกสุด บางครั้งอาจจะเริ่มผลิตออกมาตั้งแต่ระหว่างคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ในระยะสุดท้ายเลยค่ะ โดยน้ำนมเหลืองจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ อยู่มาก มีความข้นกว่าน้ำนมในระยะถัดๆ ไป และที่จริงแล้วน้ำนมเหลืองจะมี
ส่วนคล้ายกับเลือด มากกว่าน้ำนมแม่ในระยะอื่นด้วยซ้ำค่ะ เนื่องจากน้ำนมเหลืองมีเม็ดเลือดขาวเป็นส่วนประกอบ ที่ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารก น้ำนมในช่วงนี้จะออกมาค่อนข้างน้อย แค่ประมาณวันละ
2-4 ช้อนชาเท่านั้นค่ะ
ระยะที่ 2: น้ำนมช่วงปรับเปลี่ยน (Transitional Milk)
น้ำนมในช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่กำลังจะปรับจากหัวน้ำนมเป็นน้ำนมแม่ปกติค่ะ ลักษณะและสารอาหารในน้ำนมจะมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยสัดส่วนโปรตีนจะลดลง รวมไปถึงเอนไซม์และสารประกอบที่ช่วยด้านภูมิคุ้มกันต่างๆ จะลดลง เพราะว่าช่วงนี้ทารกจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เองบ้างแล้วค่ะ ส่วนประกอบของน้ำนมจะเน้นไปที่สารอาหารมากขึ้น และน้ำนมก็จะมีปริมาณมากขึ้นให้เหมาะสมกับเด็กที่เริ่มดื่มนมได้เยอะขึ้นอีกด้วย โดยช่วงปรับเปลี่ยนนี้จะเกิดขึ้นหลังระยะน้ำนมเหลือง และอยู่ไปจนถึงประมาณ
สองอาทิตย์หลังคลอดค่ะ และเนื่องจากมีการผลิตน้ำนมมากขึ้น ช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าเต้านมมีขนาดใหญ่และตึงมากขึ้นอีกด้วยค่ะ
ระยะที่ 3: น้ำนมปกติ (Mature Milk)
น้ำนมในระยะนี้เป็นช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ปรับตัวเรียบร้อยแล้ว น้ำนมจะใสมากขึ้น โดยเราเรียกกันว่าน้ำนมส่วนหน้า หรือ
Foremilk หลายคนบอกว่าลักษณะจะเหมือนนมวัวไขมันต่ำค่ะ น้ำนมอาจจะมีสีเหลืองเล็กน้อย หรือกระทั่งมีสีฟ้าเหลือบได้ค่ะ แต่หลังจากให้นมไปสักพัก น้ำนมก็จะเข้มข้นมากขึ้น เรียกว่าน้ำนมส่วนหลังหรือ
hindmilk
น้ำนมในช่วงนี้จะเน้นไปที่สารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตกว่า
200 ชนิด ทั้งโปรตีน ไขมัน คาโบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเติบโตของลูก หลังจากนี้เด็กจะดื่มนมแม่ในระยะนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ จนมีอายุ 1-2 ปีตามคำแนะนำ ในช่วงนี้หน้าอกของคุณแม่จะมี
ขนาดเล็กลงและตึงน้อยลงกว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ก็จะยังใหญ่กว่าปกติเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่จะมีน้องค่ะ
สารอาหารในน้ำนมเหลืองของคุณแม่
เจ้าหัวน้ำนมนี้
อุดมไปด้วยสารอาหารที่เปรียบได้เหมือนวัคซีนแรกของเจ้าตัวน้อยเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์อย่าง
secretory immunoglobulin A (SIgA) ที่ช่วยกำจัดไวรัสและแบคทีเรีย,
lactoferrin,
leukocytes, แม็กนีเซียม และ สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต ในขณะเดียวกันก็มี
น้ำตาลแลคโตสต่ำ เรียกได้ว่านี่คือหยดน้ำนมมหัศจรรย์ที่จะช่วยให้ลูกน้อยของเรามีพื้นฐานร่างกายที่แข็งแรงพร้อมจะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคตค่ะ
ประโยชน์ของน้ำนมเหลือง
น้ำนมเหลืองมีประโยชน์เฉพาะตัว ที่แตกต่างจากน้ำนมในระยะอื่นๆ เนื่องจากเป็นน้ำนมที่ทารกจะได้ทานเป็นครั้งแรกหลังจากที่เจ้าหัวใจดวงน้อยเริ่มเต้นตึงตัง โดยประโยชน์ของน้ำนมเหลืองมีมากมายดังนี้ค่ะ
สร้างภูมิคุ้มกัน
2 ใน 3 ของเซลล์ที่อยู่ในน้ำนมเหลือง คือเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งช่วยสร้าง Anitobodies มาต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส โดยเน้นไปที่การป้องกันการปวดท้องและท้องเสียของทารก และยังมี
immunoglobulin A (sIgA) ที่ช่วยเน้นไปที่การป้องกันการติดเชื้อในลำคอ ปอด และลำไส้ จะเห็นได้ว่า หัวน้ำนม Colostrum จะเน้นไปที่การช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกแข็งแรง เติบโตเผชิญโลกได้ต่อไปค่ะ
ปิดลำไส้ สร้างกำแพงป้องกันโรค
ทารกเกิดใหม่จะมีลำไส้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย น้ำนมเหลืองของแม่จะเข้าสู่เลือดของลูกเพื่อไปปิดรูรั่วในลำไส้ สร้างกำแพงป้องกันโรค ช่วยลดอาการแพ้อาหาร ปัญหาลำไส้ และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ต่างๆ เมื่อเด็กโตขึ้นค่ะ
ช่วยระบบขับถ่าย
เด็กแรกเกิดนั้นจะถ่ายสิ่งที่ได้ทานเข้าไปในระหว่างอยู่ในท้องออกมา เราเรียกสิ่งนี้ว่า Meconium หรือ ขี้เทา นั่นเองค่ะ โดยขี้เทาจะมีลักษณะเหนียวๆ เป็นสีเขียวหรือสีเทา น้ำนมเหลืองจะช่วยขับขี้เทาออกมา และหลังจากนั้นก็จะช่วยให้ทารกขับถ่ายเป็นปกติ ลดอาการท้องผูกที่มักจะเกิดขึ้นหากทารกดื่มนมผงแทนนมแม่ค่ะ
ทารกเติบโตอย่างแข็งแรง
น้ำนมเหลืองเป็นแหล่งธรรมชาติแหล่งเดียวที่มี
Growth Factor ทั้ง alpha และ beta ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของทารกเติบโตอย่างแข็งแรง ลดความเครียด อีกทั้งยังช่วย
ซ่อมแซมร่างกายทารกหลังจากที่ต้องออกมาเผชิญโลกเป็นครั้งแรก นอกจากนี้น้ำนมเหลืองยังช่วยปรับอุณหภูมิ ระบบหายใจ และระบบของเหลวในร่างกายอีกด้วยค่ะ
สีของน้ำนมแม่
น้ำนมของคุณแม่อาจจะ
มีสีอื่นได้นอกจากสีขาว และ เหลือง โดยปัจจัยที่กระทบกับสีของน้ำนมนั้นเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เลือดจากเต้าของคุณแม่ อาหารที่ทาน หรือว่ายาต่างๆ ที่คุณแม่ใช้ ลองมาดูกันว่าน้ำนมแต่ละสีหมายถึงอะไรค่ะ
น้ำนมสีเหลืองหรือส้ม
นอกจากหัวน้ำนม หรือ Colostrum แล้ว น้ำนมที่แช่เย็น มักจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือหากคุณแม่ทานอาหารที่มีสีส้มและเหลืองมากๆ นมก็มีสิทธิ์จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มได้เช่นกันนะคะ
นมแม่สีฟ้า
น้ำนมแม่ในช่วง Mature Milk อาจจะมีสีฟ้าเหลือบได้ เป็นเรื่องปกติค่ะ
สีเขียว
หากคุณแม่ทานอาหารที่มีสีเขียวมากๆ เช่น ผักโขม หรือ สาหร่าย น้ำนมที่ออกมาอาจจะเป็นสีเขียวได้นะคะ รวมทั้งการทานอาหารเสริมบางตัว เช่น chlorella ก็อาจจะส่งผลให้น้ำนมมีสีเขียวได้เช่นกันค่ะ
น้ำนมสีชมพูและสีน้ำตาล
แน่นอนว่าอาหารที่มีสีเข้มๆ ก็จะเปลี่ยนสีของน้ำนมแม่ได้ เช่น บีทรูทอาจจะทำให้นมแม่เป็นสีชมพูได้ค่ะ แต่ว่าการที่น้ำนมมีสีชมพูและน้ำตาล อาจจะเป็นสัญญาณว่ามีเลือดปนออกมาในน้ำนม เช่น คุณแม่อาจจะหัวนมแตก มีความดันเลือดในเต้านมผิดปกติ หรืออาจจะมีการติดเชื้อได้ คุณแม่จะต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด และอาจจะปรึกษาแพทย์ถ้าหากมีความสงสัยว่าจะสุขภาพของคุณแม่หรือน้ำนมอาจจะไม่ปกติค่ะ
สีดำในน้ำนม
น้ำนมสีดำอาจจะดูน่าตกใจ แต่ยาและอาหารเสริมบางตัวที่คุณแม่ทานได้อย่างปลอดภัย อาจจะทำให้เกิดน้ำนมสีดำได้ เช่น การทานยา minocycline อย่างไรก็ตาม อย่าลืมสังเกตและปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดค่ะ
ข้อควรระวังเกี่ยวกับน้ำนมเหลือง
คุณแม่อาจจะเริ่มเห็นน้ำนมเหลืองไหลออกมาตั้งแต่ช่วงที่ 12-16 อาทิตย์ของการตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ เป็นการผลิตของร่างกายปกติ คุณแม่บางคนก็จะมีการเก็บนมตรงนี้แช่เย็นเอาไว้เพื่อให้ลูกตอนเกิด แต่อย่าลืมปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการสังเกตนมและวิธีการเก็บที่ปลอดภัย ก่อนที่จะให้ลูกดื่มนมที่เก็บเอาไว้ด้วยนะคะ 🙂
ควรให้นมแม่นานเท่าไหร่
หลายองค์กรทั่วโลก เช่น
American Academy of Pediatrics (AAP) และ
American College of Obstetricians and Gynecologists แนะนำให้ทารก
ดื่มแต่นมแม่ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน โดยที่ไม่ต้องทานอย่างอื่นแม้กระทั่งน้ำเปล่าร่วมด้วยเลยค่ะ หลังจากนั้นให้ดื่มนมแม่ต่อ ร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น ผลไม้ จนเด็กอายุครบ 1 ปี ส่วนทาง
UNICEF แนะนำว่าควรให้เด็กดื่มนมแม่จนกระทั่งอายุ 2 ปีเลยทีเดียวค่ะ
ในส่วนของน้ำนมเหลืองนั้น แนะนำว่าให้ลูกเริ่ม
ดื่มนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อที่จะได้ไม่พลาดโอกาสทองในการรับ “วัคซีนแรก” ด้วยน้ำนมแม่ที่เต็มไปด้วยประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนี้ค่ะ
รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมมาลองให้นมแม่ให้มากที่สุดเท่าที่คุณแม่สามารถทำได้กันนะคะ ถ้าคุณแม่ต้องการติดตามเคล็ดลับหรือสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับแม่และเด็ก ก็มาติดตามที่
Facebook ของเราได้เลยค่ะ และถ้าพร้อมแล้วที่จะมาบำรุงน้ำนมแม่ เพิ่มปริมาณน้ำนม เพื่อให้เจ้าตัวน้อยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดื่มนมแม่ให้มากที่สุด อย่าลืมลองเครื่องดื่มบำรุงน้ำนมจาก
Mommylicious Juice นวัตกรรมเครื่องดื่มหัวปลีเพิ่มน้ำนมจากประเทศไทย ที่คว้ารางวัลนานาชาติ International Innovation Awards 2019 (IIA2019) มาแล้วด้วยนะคะ 🙂
One response to “Colostrum (น้ำนมเหลือง) คือ? ระยะของน้ำนมแม่ สีน้ำนม คุณค่า และ ข้อควรระวัง”
[…] หรืออยู่ในช่วงให้นมลูกทั้งช่วงน้ำนมเหลือง และน้ำนมปกติ มีรสชาติให้เลือก […]