fbpx

ขวดนมของเด็กแรกเกิด วิธีเลือกและการใช้งานขวดนมสำหรับคุณแม่

Baby using bottle

นอกจากการดูดนมแม่จากเต้าแล้ว การใช้ขวดนมเป็นอีกสิ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะการเลือกขวดนมเด็กแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทั้งขนาด วัสดุที่ใช้ ราคา และยังมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซึ่งหลังจากเริ่มให้ลูกดูดนมจากเต้าแล้ว การแนะนำลูกให้เริ่มใช้ขวดนมก็เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่จำเป็น เพื่อต่อยอดไปสู่การดื่มนมจากแก้วหรือกล่อง เพื่อให้คุณแม่ได้พักเต้าและมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น  สำหรับการเลือก ขวดนม ให้กับลูกนั้น จะมีปัจจัยอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

ให้ลูกเริ่มใช้ขวดนม ตอนอายุเท่าไหร่? นานแค่ไหน?

การเริ่มต้นให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (Bottle-Feeding) สามารถเริ่มได้ทันทีหลังจากลูกเริ่มดูดนมจากเต้า แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรให้เริ่มดูดนมจาก ขวดนมเด็ก หลังจากลูกมีอายุ 3 – 4 สัปดาห์ เหตุผลเพราะว่า เด็กแรกเกิดจะยังต้องทำความคุ้นชินกับการดูดนม ต้องมีแม่คอยดู คอยป้อนและทำให้ลูกรู้ว่าเขากำลังดูดนมอย่างปลอดภัย และ อบอุ่น

นอกจากนี้ การที่ลูกดูดนมจากเต้ายังเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่ เพื่อที่ร่างกายจะรับรู้และเร่งผลิตน้ำนม ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก ช่วยให้คุณแม่สามารถปั๊มนมสำรองไว้ได้มากพอสำหรับการให้ลูก เพื่อให้ลูกน้อยหัดดูดนมจากขวดนมอีกด้วย  

ในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณแม่ควรให้นมลูกปริมาณ 1 – 2 ออนซ์ เป็นประจำทุก 3 – 4 ชั่วโมง ลูกจะมีอาการงอแงบ้างเวลาหิวและจะนิ่งสงบเมื่อได้ดื่มนม ได้รับการกอด อุ้ม หรือ ลูกหลังเบาๆ

ให้ลูกดูดนมจากขวดนานแค่ไหนดี?

ในวัยแรกเกิดที่ลูกได้หัดดูดนมจากขวดแล้วนั้น สามารถให้ลูกคุ้นชินกับขวด กับการดูดนมได้เรื่อยๆ ควรให้ลูกใช้ขวดนมไปจนถึงอายุ 1 ขวบ หรือ อายุ 12 เดือน โดยเป็นการให้ดูดจากเต้า สลับกับให้ลูกดูดจากขวดนม ก่อนจะเริ่มหัดให้ลูกดื่มนมจากแก้วค่ะ

ขนาดขวดนม ที่แนะนำสำหรับลูกน้อยในช่วงอายุต่างๆ

ลูกน้อยแต่ละช่วงวัยจะมีปริมาณนมที่ควรดื่มแตกต่างกัน โดยมีวิธีคำนวณง่ายๆ คือ ทุกๆ น้ำหนักตัว 0.5 กิโลกรัม ลูกควรดื่มนม 2.5 ออนซ์ (75 มิลลิลิตร) แต่สำหรับการเลือกขวดนมนั้น สามารถเลือกใช้ได้ดังนี้ค่ะ

ขนาดขวดนมสำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด จนถึง 6 เดือน

ควรใช้ขวดนมขนาด 4 ออนซ์ (120 มิลลิลิตร) เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการดื่มนมแต่ละครั้ง ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยจะให้นมลูกทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดขวดนมของเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

ควรเปลี่ยนขนาดขวดนมให้มีปริมาณ  7 – 8 ออนซ์  (240 มิลลิลิตร)  เมื่อลูกมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ก็ควรได้รับปริมาณน้ำนมที่มากขึ้น เพื่อเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่ข้อควรระวังคือ ลูกน้อยไม่ควรดื่มนมมากกว่า 32 ออนซ์ (320 มิลลิลิตร) ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เกิดภาวะท้องอืดและไม่สบายตัวได้ค่ะ

ขวดนมเด็กมีกี่แบบ มีอะไรบ้าง​?

โดยทั่วไป ขวดนมเด็ก จะผลิตด้วยพลาสติกเพราะมีน้ำหนักเบา ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย แต่ก็มีบางแบรนด์ที่จำหน่ายขวดนมแบบแก้ว ซึ่งราคาสูงกว่าแต่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ในส่วนของขวดนมพลาสติกนั้น ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ชนิดของวัสดุค่ะ โดยทั่วไปขวดนมพลาสติก จะแบ่งได้ดังนี้

1. ขวดนมพลาสติก PP หรือ POLYPROPYLENE

พลาสติก POLYPROPYLENE เป็นพลาสติกที่นิยมใช้กัน เพราะขึ้นรูปง่าย ทนทานต่อการขีดข่วนและแรงกระแทก โดยพลาสติกชนิดนี้จะทนต่ออุณหภูมิ -20 ˚C จนถึง 110 ˚C ขวดนมจากพลาสติก PP มีอายุการใช้งาน เฉลี่ย 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการต้มฆ่าเชื้อ หากต้มบ่อยก็จะเสื่อมสภาพไวค่ะ

2. ขวดนมพลาสติก PES หรือ POLYETHERSULFONE

POLYETHERSULFONE หรือ PES เป็นพลาสติกที่มีความทนทานสูงจะมีสีชา สีน้ำผึ้ง โปร่งแสง สามารถทนต่ออุณหภูมิ -40 ˚C จนถึง 180 ˚C อายุการใช้งานนาน 6 เดือน  – 1 ปี 

3. ขวดนมพลาสติก PPSU หรือ POLYPHENYLSULFONE

พลาสติก POLYPHENYLSULFONE เป็นพลาสติกคุณภาพสูง เป็นสีน้ำตาลอ่อนตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติไม่ดูดซับสี หรือ กลิ่น มีความทนทานสูงมาก ซึ่งสามารถทนความร้อนสูงสุดได้ถึง 260˚C ทนทานต่อการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน และ ไม่ดูดซับความร้อนไว้อีกด้วย โดยทั่วมีอายุการใช้งาน 1 – 2 ปี ค่ะ

การตรวจสอบสัญลักษณ์ BPA Free สำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก

BPA  หรือ Bisphenol A คือสารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิตพลาสติกให้คุณสมบัติโปร่งใสและแข็งแรงทนทานขึ้น แต่ข้อเสียคือเป็นสารก่อมะเร็งที่อันตรายต่อรางกาย ซึ่งไม่เหมาะกับวัสดุที่ใช้สำหรับใส่อาหาร ก่อนที่คุณแม่จะเลือกซื้อขวดนมหรือของเล่นของลูกน้อย ให้เลือกขวดนมเด็กที่ผลิตจากพลาสติก 3 ชนิดข้างต้น ก็จะปลอดภัยกว่าเพราะเป็นพลาสติกรุ่นใหม่ไม่มี  BPA ในขั้นตอนการผลิตอยู่แล้ว แต่อย่าลืมตรวจสอบสัญลักษณ์ BPA Free ก่อนซื้ออีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสาร BPA แน่นอนค่ะ

ใช้ จุกนม จุกหลอก แบบไหน? เลือกจุกนมสำหรับเด็ก อย่างไรดี?

จุกหลอก หรือ จุกนมปลอม (Baby Pacifier) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่ช่วยให้ลูกน้อยสงบลง เมื่อลูกน้อยมีอาการหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี หรือใช้เพื่อให้ลูกได้ดูดแก้เบื่อ เนื่องจากวัยทารกนั้น ลูกน้อยจะเริ่มมีพัฒนาการทางปาก โดยเฉพาะการดูด เพราะลูกต้องการน้ำนมที่เพียงพอ การใช้จุกหลอกจะช่วยเป็นการเตรียมพร้อมให้เด็กเริ่มดูดนมจากขวด และ ช่วยให้เขาสงบลงแม้ว่าจะยังไม่ได้ดูดนมอยู่ก็ตาม

ชนิดของจุกนม จุกหลอก ที่มีทั่วไป

จุกนม โดยทั่วไปมักผลิตจากวัสดุ 2 ชนิดหลักๆ มีอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 3 – 6 เดือน  โดยมีรายละเอียดดังนี้

 1. จุกนม ทำจากยาง

จุกนมที่ผลิตจากยางพารา จะมีความนุ่มมากกว่าแบบซิลิโคน โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาล สีขุ่นตามแต่ละชนิด สามารถทนความร้อนได้ 100 ˚C มีอายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน และ หากต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ จะมีอายุการใช้งานเพียง 1 เดือน

2. จุกนมซิลิโคน

มีความคงทนมากกว่าจุกยาง มีสีใสและมีความยืดหยุ่นสูง ขาดและพังได้ยากกว่า สามารถทนความร้อนได้ 120 ˚C มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 4 – 6 เดือน แต่หากนำไปทำความสะอาดด้วยความร้อนบ่อยๆ อายุการใช้งานจะเหลือ 2 – 3 เดือนค่ะ

ปัจจัยในการเลือก จุกนมหลอก

  1. รูปแบบจุก ขนาดของจุกนมนั้นจะเล็ก-ใหญ่ ไปตามวัยของเด็ก โดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ จุกหลอกสำหรับเริ่มต้นดูด และ จุกหลอกสำหรับใช้ร่วมกับขวดนม ให้พิจารณาจากวัสดุที่ใช้ทำที่ยืดหยุ่น บางเบาและง่ายต่อการทำความสะอาด
  2. ตัวกั้นจุก (Guard) สิ่งนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกดูดจุกลึกเกินไปซึ่งเสี่ยงต่อการสำลัก และอาเจียนออกมาได้
  3. ด้ามจับ ส่วนนี้ควรเลือกด้ามจับที่โค้งมน ไม่แข็งจนเกินไป และเลือกจากวัสดุที่มีการป้องกันการเกาะตัวของเชื้อโรค เพื่อไม่ให้มีคราบสกปรกติดมือและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูก

วิธีสังเกต เมื่อลูกต้องการจุกปลอม

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกังวลว่าการให้ลูกดูดจุกหลอกนั้น อาจเป็นการรบกวนหรือทำให้ลูกไม่คุ้นชินกับเต้านม รู้สึกระคายเคือง ซึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ลูกได้ลองใช้จุกหลอก หรือ ดูว่าลูกต้องการจุกหลอกนั้น สังเกตได้จาก

  1. ลูกชอบดูดนมแม้ว่าจะไม่ได้มีน้ำนมออกมาแล้ว และมีอาการหงุดหงิดเล็กน้อยเมื่อจะดึงลูกออกจากเต้า
  2. มีการดูดนิ้วมือ ดูดนิ้วหัวแม่มือ บ่อยๆ เวลาอยู่ว่างๆ
  3. มักจะดูด กัดของเล่น หรือ ชายผ้า โดยลูกจะนำมาอมเล่นไว้

หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ให้คุณแม่เริ่มให้จุกปลอมกับลูกสลับกับการให้ดูดนมจากเต้าได้เลย ลูกจะรู้สึกคุ้นชิน และไม่กังวลค่ะ

ทารกดูด อม ชายผ้าขนหนู

วิธีเริ่มต้นให้เด็กดูดนมจากขวดนมเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

หลักการง่ายๆ สำหรับเริ่มต้นให้ลูกคุ้นเคยกับขวดนมเด็ก ให้คุณแม่ท่องหลัก 4 Ts นี่ไว้ได้เลยค่ะ

Time ช่วงเวลาเหมาะสม

โดยทั่วไปทารกจะดูดนมแม่ถี่มากๆ ในช่วง 3 เดือนแรก โดยเฉลี่ยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลาให้คุณแม่อุ้มและดูดนมจากเต้า สลับกันกับการป้อนด้วยขวดนมเด็ก โดยอาจเริ่มสลับเป็นขวดนมเมื่อลูกอายุ 3-4 สัปดาห์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

Temperament อารมณ์ดี มีความสงบ

บางครั้งแม้ลูกจะหิวแต่หากเขามีอารมณ์ที่สงบ รู้สึกสบายตัว การมีขวดนมให้ลูกถือ และ ดูดด้วยตัวเองก็เพียงพอแล้ว โดยคุณแม่ไม่จำเป็นต้องอุ้มหรือให้ดูดนมจากเต้า การหมั่นสังเกตอารมณ์ลูกน้อยจึงมีส่วนสำคัญไม่แพ้กันค่ะ

Touch สัมผัสช่วยกระตุ้นให้ลูกสนใจ

เด็กแรกเกิดจะยังไม่คุ้นชินกับเรียก แต่การสะกิดเบาๆ ที่เแก้มหรือคาง จะดึงความสนใจของพวกเขาได้มากกว่า ก่อนให้นมให้ลองสะกิดที่แก้มเล็กน้อย เพื่อดูความสนใจและดูว่าอารมณ์ของลูกน้อยว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วจึงค่อยให้ขวดนมเด็ก เพื่อให้เขาได้ดูดนมจากขวดเอง

Taste รสชาติเป็นสิ่งสำคัญ

ความแตกต่างที่สำคัญที่มีผลต่อการรับรู้รสชาตินมของลูกน้อยคือ อุณหภูมิของนม หากเป็นนมแม่ที่เก็บแช่แข็งไว้ ก่อนนำมาให้ลูกน้อยดื่ม อย่าลืมวัดอุณหภูมิให้ดีก่อนนะคะ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับนมที่ทารกดื่ม คือ 35-37 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนและวิธีทำความสะอาดขวดนมเด็ก

แปรงล้างขวดนมเด็ก

ขั้นตอนง่ายๆ แต่มีรายละเอียดอย่างการล้างขวดนมเด็ก เรามาดูกันว่าสิ่งที่ต้องทำและต้องสังเกต ในการทำความสะอาดขวดนมเด็กนั้นมีอะไร อย่างไรกันบ้าง

  1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จากนั้นเช็ดให้แห้ง
  2. แยกส่วนประกอบของขวดนม ทั้งขวด และจุกนม ออกจากกัน ตรวจสอบบริเวณจุกนมว่ามีรอยร้าวหรือรั่วไหม ถ้ามีให้ทิ้งทันทีเพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้
  3. ล้างขวดนมเด็ก จุกนม ในน้ำอุ่นผสมสบู่อ่อน
  4. ขัดด้วยแปรงล้างขวด ทั้งด้านใน ด้านนอก และ จุกนม โดยเน้นในส่วนของเกลียวฝาและจุกนม ให้ขัดละเอียดเพราะอาจมีแบคทีเรียสะสมบริเวณนี้ได้
  5. ฉีดน้ำให้ผ่านจุกนม โดยให้น้ำไหลผ่าน 2 – 3 รอบ 
  6. เปิดน้ำสะอาดไหลผ่านอุปกรณ์ทั้งหมด เช็ดให้แห้งและวางพักไว้

ความสะอาดของขวดนมเด็ก เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากมีเชื้อโรคปะปน สะสมอยู่ อาจส่งผลให้เด็กเกิดอาการท้องเสียและทำให้ลูกไม่สบายได้ค่ะ นอกจากนี้แล้ว ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเก็บดูแลขวดนมลูกให้สะอาดและมิดชิด เพื่อป้องกันฝุ่นผงที่อาจไปเกาะในขวดนมด้วย

สรุปเรื่องขวดนมเด็ก

เพราะขวดนมเด็กนั้น เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่จะต้องอยู่กับลูกน้อยตลอดเวลา การเลือกอุปกรณ์ ขนาด และ การเก็บรักษาจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด ไม่น้อยไปกว่าการดูแลสุขภาพ สารอาหารของทารกเลยค่ะ
เมื่อได้ขวดนมที่มีคุณภาพแล้ว ก็อย่าลืมปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย และหากกังวลว่าน้ำนมที่ปั๊มนั้นจะมีไม่เพียงพอ อย่าลืมให้ เครื่องดื่มบำรุงน้ำนมของ Mommylicious Juice  เป็นตัวช่วยในการบำรุงสุขภาพและเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่ด้วยนะคะ

ให้ลูกดื่มนมแม่จากเต้าอย่างเดียว ได้หรือไม่?

หากคุณแม่มีเวลาที่เพียงพอและสามารถทุ่มเทให้การดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่ การให้นมลูกจากเต้าตลอดช่วง 3-6 เดือน สามารถทำได้และส่งผลดีทั้งกับความผูกพันธ์ อารมณ์ของลูกและการเผาผลาญไขมันของคุณแม่ค่ะ แต่หากไม่สามารถทำได้จริงๆ การใช้ขวดนมเด็กช่วยก็ไม่ได้มีผลเสียอะไรเช่นกัน

ไม่ให้ลูกดื่มนมจากขวด ให้หัดดื่มจากแก้วได้หรือไม่

โดยทั่วไป ควรให้เด็กเริ่มดื่มนมจากแก้วหัดดื่ม (Sippy Cups) หลังจากอายุ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ แต่ควรให้ลูกคุ้นชินกับการใช้ขวดนมก่อน เพื่อที่จะเริ่มใช้แก้วหัดดื่มได้ง่ายขึ้น

ให้ลูกดูดจากขวดนมเด็ก แล้วลูกงอแง ควรทำอย่างไร

หากลูกมีอาการงอแงในช่วงแรก อาจเกิดจากการไม่คุ้นเคยกับขวดนมเด็ก หรือ ไม่คุ้นเคยกับเนื้อสัมผัสของจุกนม ส่วนนี้ให้ใช้น้ำนมแม่ มาลองทาที่จุดนมเด็กและค่อยๆ ฝึกป้อนลูกสลับกับการให้ลูกดูดนมจากเต้า  จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการดูดจากขวดนมเด็กได้ไวขึ้น

Image Credits:
Photo by Rainier Ridao on Unsplash
Photo by Muhammad Murtaza Ghani on Unsplash
Photo by Matt Walsh on Unsplash
Image by Hebi B. from Pixabay

Comments are closed.