คงจะมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ที่กำลังประสบปัญหา น้ำนมน้อย ไม่เพียงพอให้ลูกรักดื่ม จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่าน เพราะกังวลว่าลูกน้อยจะรับสารอาหารสำคัญไม่เพียงพอ ซึ่งตามหลักทางโภชนาการแล้ว น้ำนมแม่ถือว่ามีสารอาหารสำคัญมากที่สุด เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กอีกด้วย
วันนี้เราเลยอยากจะชวนคุณแม่ทุกท่านมาไขข้อข้องใจ ว่าปัญหาน้ำนมน้อยนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะมีเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่อย่างไรให้ลูกรักดื่ม ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
น้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
กระบวนการการผลิตน้ำนมนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติน ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำนม แต่ยังไม่หลั่งออกมาเพราะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากเด็กทารกคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งอยู่
หลังจากที่คุณแม่คลอดเด็กทารกแล้ว ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เคยหลั่งเพื่อสร้างเด็กทารกก็จะหลั่งน้อยลงจนหยุดลงในที่สุด ส่งผลให้กลไกการยับยั้งน้ำนมหายไป เมื่อลูกน้อยได้ดื่มก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินให้หลังมากขึ้น ซึ่งถ้ายิ่งหลั่งมาก ก็จะเกิดการผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นมากเท่านั้นนั่นเอง
สารอาหาร และ ประโยชน์ของน้ำนมแม่
ในน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยมาก โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะได้ดังนี้
ระยะที่ 1: “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)”
“น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” จะผลิตออกมาในช่วง 1 – 3 วันแรกหลังคลอด เป็นที่สารอาหารสมบูรณ์ที่สุด เพราะมีสารแคโรทีน โปรตีน เกร่อแร่และวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย เร่งการเจริญเติบโต และอุดมไปด้วยสารหลากหลายชนิดที่เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ทารกน้อย เปรียบได้ดังวัคซีนหยดแรกที่ช่วยปกป้องทารกจากเชื้อไวรัสและการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยระบายอ่อนๆ กระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระแรก หรือขี้เทาออกจากลำไส้ของทารกอีกด้วย
ระยะที่ 2 : น้ำนมสีขุ่น (Transitional Milk)
ในช่วง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์ น้ำนมจะเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีขาวขุ่น อีกทั้งยังมีสารอาหารทั้งไขมันและน้ำตาลเพิ่มขึ้น ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตร่างกายของทารกน้อยได้อย่างเหมาะสม
ระยะที่ 3 : น้ำนมแม่ปกติ (Mature Milk)
หลังจากผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มผลิตน้ำนมมากขึ้น และมีสารอาหารสำคัญได้แก่ โปรตีนและเอมไซม์ช่วยยับยั้งการเกิดโรคและแบคทีเรีย กรดไขมันอย่าง DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) ที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและการมองเห็น น้ำตาลแลคนโตสีที่มีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น มากกว่า 200 ชนิด ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังอุดมไปวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ อาทิ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K, เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำนมไม่เพียงพอ ?
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าน้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร มีสารอาหารและมีประโยชน์อย่างไร ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า น้ำนมน้อย หรือไม่เพียงพอต่อลูกน้อย เรามีทริคสังเกตง่าย ๆ ได้ดังนี้ค่ะ
1.สังเกตจากน้ำหนัก
เด็กทารกอาจจะมีน้ำหนักลดลงเล็กน้อยในช่วงแรก ๆ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแรกเกิด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่เมื่อเวลาผ่านไปควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ วันละ 20 กรัม หากน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นก็มีความเป็นไปได้ว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
2.สังเกตจากผ้าอ้อม
เด็กทารกที่ดื่มนมเพียงพอจะต้อง ปัสสาวะให้ผ้าอ้อมเปียก วันละ 6-8 ผืน หรือใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ประมาณ 4-6 ชิ้นต่อวัน นอกจากนี้สีของปัสสาวะจะต้องเป็นสีเหลืองจาง ๆ ไม่ใช่สีเหลืองเข้ม
3.สังเกตจากลักษณะอุจจาระ
สีอุจจาระของเด็กทารกเมื่อผ่านไป 1 อาทิตย์แล้วจะต้องมีสีเหลืองทอง นิ่ม ไม่เหลวหรือแข็ง แรกๆอาจจะมีการถ่ายบ่อยหลังดื่มนม แต่เมื่อพ้นเดือนแรกไปแล้ว หลังจากร่างกายเด็กทารกมีการพัฒนามากขึ้นและสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น อาจถ่ายเพียงหนึ่งครั้งใน 3-4 วัน
4.สังเกตจากปริมาณการดื่ม
โดยส่วนมากแล้วขณะที่ลูกดื่มนม เต้านมทั้งสองข้างของคุณแม่จะรู้สึกว่านมไหลพุ่งออกมาและจะได้ยินเสียงกลืนน้ำนมของลูก เด็กทารกจะดื่มประมาณ 7-8 ครั้งใน 24 ชม. ในช่วง 3 เดือนแรก โดยหลังจากดื่มนมแม่แล้วลูกน้อยจะมีท่าทีที่ผ่อนคลาย ไม่หงุดหงิดร้องไห้ และนมของคุณแม่จะนิ่มขึ้นหลังให้นม
อาการ “น้ำนมน้อย” เกิดจากอะไร
สำหรับอาการน้ำนมน้อยที่คุณแม่หลาย ๆ คนกังวลใจอยู่นั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ แต่ปัจจัยหลัก ๆ ที่ส่งผลโดยตรงทำให้นมของคุณแม่ผลิตน้อยมีดังนี้
1.ความเครียดของคุณแม่หลังคลอด
หลังจากคลอดแล้วคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะประสบกับภาวะความเครียด ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้น้ำนมน้อยได้ เพราะถ้ายิ่งเครียด ก็จะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินที่กระตุ้นให้เซลล์ผลิตน้ำนมออกมาลดลง และหากลดลงก็จะส่งผลให้การผลิตน้ำนมยิ่งนั้นยิ่งลดน้อยลงไปด้วยเช่นกันค่ะ
2.ใช้ยาบางชนิดในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
ยา หรือ สารบางชนิด ที่คุณแม่ใช้ก็มีผลต่อการผลิตน้ำนมของคุณแม่เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ “ยาคุมกำเนิด” ที่อาจส่งผลให้น้ำนมและคุณภาพของน้ำนมคุณแม่ลดน้อยลงได้ เพราะมีส่วนประกอบของฮอร์โมน 2 ชนิดรวมกัน คือเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างน้ำนม ดังนั้นทางที่ดีควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นค่ะ
นอกจากนี้ยาแก้แพ้ในกลุ่ม คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือ ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) ที่ช่วยในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ซึ่งหากใช้ติดต่อยาวนานหลายวัน ก็มีผลทำให้น้ำนมน้อยได้เช่นเดียวกัน
3.เคยเข้ารับการผ่าตัดเต้านมมาก่อน
คุณแม่บางท่านที่เคยเข้ารับการผ่าตัดเต้านมมาก่อนเพื่อลดขนาดของเต้านมมาก่อน ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้อาจมีผลลดปริมาณน้ำนม สำหรับคุณแม่ท่านใดที่กังวลว่าเข้าผ่าตัดเสริมอกแล้วจะให้นมได้น้อย ความจริงแล้วหากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ตัดท่อน้ำนมหรือกระเปาะน้ำนม ก็จะไม่มีปัญหากับปริมาณการผลิตน้ำนมค่ะ ในส่วนนี้คุณแม่สามารถกระตุ้นการให้นมได้ตามปกติ
4.ท่อน้ำนมอุดตัน
อาการท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการที่ไม่ให้ลูกดูดนม หรือจำกัดเวลาในการดูดนมของลูก หรือบางครั้งลูกน้อยดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า ทำให้มีน้ำนมค้างท่ออยู่ ส่งผลทำให้น้ำนมขัง และเมื่อค้างท่อไปนาน ๆ ก็จะมีอาการปวด บวม แดง และอักเสบในที่สุด ส่งผลให้การผลิตน้ำนมหยุดชะงักได้นั่นเอง
5.อาหารการกินของคุณแม่
นอกจากปัจจัยที่เราได้กล่าวไปแล้วนั้น เรื่องอาหารการกินก็มีส่วนสำคัญเพราะหากคุณแม่รับประทานอาหารน้อย หรือไม่มีประโยชน์ก็จะส่งผลให้น้ำนมน้อยลง รวมไปถึงสารอาหารในน้ำนมก็จะน้อยตามลงไปด้วย
7 เทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่อย่างไรให้ลูกรักดื่ม
1.ให้ลูกน้อยดื่มนมบ่อย ๆ
วิธีการกระตุ้นให้น้ำนมของคุณแม่ไหลได้ดีที่สุดก็คือ การให้ลูกน้อยดื่มนมจากเต้าค่ะ เพราะจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคตินเพื่อเพิ่มการผลิตของน้ำนมค่ะ โดยควรให้ดื่มอย่างน้อย 8 ครั้ง/วัน และควรบีบหรือปั๊มหัวนมให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมงเพื่อป้องกันอาการท่อน้ำนมอุดตันค่ะ
2.กระตุ้นเต้านมด้วยผ้าอุ่น
คุณแม่สามารถกระตุ้นเต้านมได้ด้วยการเตรียมผ้าอุ่นจัด นำมาประคบบริเวณเต้านมประมาณ 3 – 5 นาทีก่อนให้นมลูกน้อย จากนั้นให้นวดเต้านมและคลึงหัวนมเบา ๆ เพื่อให้น้ำไหลออกมาง่ายขึ้น
3.ฝึกลูกน้อยให้ดื่มนมอย่างถูกวิธี
คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมเข้าเต้าอย่างถูกต้องได้ด้วยการให้ลูกอมงับถึงลานนม เปิดปากของลูกน้อยให้กว้างและแนบกับเต้านมแม่ โดยสังเกตว่าริมฝีปากล่างของลูกบานออก และคางต้องแนบชิดเต้านมแม่นั่นเอง โดยระยะเวลาที่ทารกใช้ดูดนม แต่ละครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที โดยดูดให้เกลี้ยงเต้าทั้งสองข้าง
4.หลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมอื่น ๆ
การให้อาหารเสริมอื่น ๆ ในช่วง 6 เดือนแรกนอกจากลูกน้อยจะได้รับสารอาหารได้ไม่ครบถ้วนเท่ากับการดื่มจากเต้าแล้ว ยังส่งผลให้ทำให้ลูกน้อยดูดนมแม่ได้น้อยลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ นอกจากนี้หากอาหารเสริมมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำหรือไม่สะอาด ก็จะทำให้ลูกขาดสารอาหาร และเกิดโรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อได้
5.ผ่อนคลายและลดความเครียด
อย่างที่เราได้กล่าวกันไปข้างต้นว่าถ้ายิ่งเครียด น้ำนมก็จะยิ่งน้อยลง ดังนั้นคุณแม่ควรพักผ่อนให้เต็มที่ หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย หรือนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ ในขณะให้นมลูกหรือขณะปั๊มนม แต่ถ้าหาคุณแม่ท่านใดมีภาวะเครียดสะสม ยาวนานผิดปกติก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ
6.ดื่มน้ำเยอะ ๆ
คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจะประสบปัญหากระหายน้ำตลอดเวลา บวกกับความรู้สึกเหนื่อยล้า ดังนั้นการดื่มน้ำหรือของเหลวมาก ๆ จะช่วยทดแทนของเหลวที่สูญเสียไป โดยคุณแม่ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 3.8 ลิตร/วัน
7.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ในการผลิตน้ำนมแต่ละครั้งคุณแม่จะใช้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรีเพื่อผลิตน้ำนม 30 มิลลิลิตร ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 500 กิโลแคลอรี เพื่อสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ โดยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีส่วนผสมของโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ปัญหาน้ำนมน้อยดีขึ้นค่ะ
เราก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจและช่วยให้เหล่าคุณแม่เบาใจขึ้นได้บ้างนะคะ แต่สำหรับใครที่ต้องการตัวช่วยดี ๆ ทาง Mommylicious Juice ก็มีผลิตภัณฑ์บำรุงอย่าง น้ำหัวปลี และ เครื่องดื่มบำรุงน้ำนมแม่ ที่ใช้ส่วนผสมหลักสกัดจากผักผลไม้ไทย เช่น หัวปลี ขิง มะเขือเปราะ ใบกะเพรา ฯลฯ ที่ช่วยบำรุงและเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ อีกทั้งดื่มง่าย อร่อย พกพาสะดวก รับรองว่าลองแล้วไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนค่ะ