fbpx

ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่

unhappy baby

ในช่วงแรกเกิด นอกจากคุณแม่จะต้องดูและหมั่นตรวจสอบ พัฒนาการของลูกน้อยแล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหนึ่งในอาการที่พบได้ในวัยทารกคือ อาการท้องผูก เพราะบางครั้งทารกได้รับสารอาหารและมีการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ วันนี้มาดูรายละเอียดกันค่ะ ว่าคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยและมีวิธีป้องกันลูกจาก อาการท้องผูก อย่างไรบ้าง

วิธีการสังเกตอาการท้องผูกสำหรับทารก

การสังเกตอาการท้องผูกของทารก มีจุดสังเกตที่คุณแม่สามารถตรวจสอบอาการของลูกน้อยได้ ดังนี้

  • ทารกมีอาการอึดอัด ร้องไห้ และไม่สบายตัวในช่วงที่ขับถ่าย
  • อุจจาระ/กลิ่นลม มีกลิ่นเหม็นคลุ้งผิดปกติ เพราะโดยทั่วไปทารกจะดื่มนมแม่เป็นหลักและอุจจาระที่มาจากนมแม่จะไม่มีกลิ่นแรง
  • ทารก ทานอาหารได้น้อยลงอย่างชัดเจน มีการเบื่ออาหารไม่สามารถทานได้ตามปกติ
  • เมื่อกดท้องเบาๆ จะพบว่าท้องแข็ง ไม่สามารถกดลงไปได้มาก
ทารก รู้สึกอึดอัด

สาเหตุที่ลูกท้องผูกมีอะไรบ้าง​?

เด็กทารกแต่ละช่วงวัย มักจะมีสาเหตุของอาการท้องผูกที่แตกต่างกันไปค่ะ ลองดูสาเหตุของอาการท้องผูกในแต่ละช่วงวัยกัน

สาเหตุของอาการท้องผูกของลูกตั้งแต่เกิด ถึง 6 เดือน

1. ลูกแพ้โปรตีนในน้ำนม

โดยทั่วไปน้ำนมแม่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด พร้อมกับมีโปรตีนและไขมัน ที่ช่วยให้อุจจาระจับตัวได้ดี ย่อยง่ายส่งผลให้ขับถ่ายได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีนั้น ทารกมีอาการแพ้ และไม่สามารถย่อยโปรตีนหรือสารอาหารบางอย่างที่คุณแม่ทานเข้าไปและส่งผ่านไปยังทารก จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้

2. ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ จึงไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

3. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิดคือหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนมากจะวินิจฉัยพบตั้งแต่ทารก โดยจะทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทารกไม่สามารถขับถ่ายได้ปกติ มีอาการท้องอืด ต้องมีการสวนทวารบ่อยครั้ง โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด มีอัตราการเกิดขึ้นคือ 1 ต่อ 5,000 คน

สาเหตุของอาการทารกท้องผูกในเด็ก 6 เดือนขึ้นไป

ทารกในช่วงวัยนี้ จะเริ่มทานอาหารอื่นๆ เพิ่มเติมจากการดื่มนมแม่ตามปกติ ซึ่งอาจเกิดอาการท้องผูกได้ โดยมีสาเหตุ คือ

 1. ลูกท้องผูกเพราะแพ้โปรตีนในน้ำนม

สารอาหารบางอย่างในนมของสัตว์ ทั้งนมวัว นมแพะ ที่ทารกดื่มนั้น อาจก่อนให้เกิดอาการแพ้โปรตีนในนม นอกจากนี้ยังสารประกอบอื่นๆ ในนมผงที่ย่อยได้ยากสำหรับทารก ซึ่งอาจทำให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนและเป็นที่มาของอาการท้องผูกได้

2. ทารกดื่มนำไม่พอ จนเกิดภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration in newborns) ในทารกหลัง 6 เดือนสามารถเกิดขึ้นได้และทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่นอาการท้องผูก โดยทั่วไปแล้วนมแม่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 80% อยู่แล้ว แต่หากทารกไม่ค่อยดื่มนมแม่ หรือ มีอาการท้องอืดและดื่มนมได้น้อย จะยิ่งทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและทำให้ขับถ่ายได้ลำบากมากขึ้น

3. ชนิดและรูปแบบของอาหารที่เริ่มทาน

อาหารเหลวหรือบดที่มักจะนำมาให้ทารกทาน บางครั้งอาจเป็นอาหารที่ไม่มีกากใยมากพอ ยิ่งนำมาบดและทำให้ข้นมากเกินไป ยิ่งส่งผลให้ลำไส้ของทารกย่อยได้ยาก ซึ่งแนะนำให้คุณแม่เติมผักต้มสุกที่มีกากใยอย่าง บรอกโคลี ลูกพรุน แครอท หรือเติมน้ำผลไม้แท้เพิ่มในอาหารบดเล็กน้อย อย่างน้ำส้ม น้ำสับปะรด เพื่อช่วยในการฝึกทานอาหารและช่วยในการขับถ่ายด้วยเช่นกัน 

Happy Baby

ลูกท้องผูกทำยังไงดี? วิธีดูแลลูกเมื่อมีอาการท้องผูก

เมื่อทารกมีอาการท้องผูก ในช่วงแรกคุณแม่สามารถแก้ไขและดูแลลูก ได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. ปรับเมนูอาหาร เพิ่มกากใย

ในช่วงเริ่มต้นหลังจากเริ่มหัดให้ลูกน้อยทานอาหาร คุณแม่จำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณสารอาหารในแต่ละมื้อ ทั้งปริมาณ วิตามินหรือน้ำตาล เช่น กล้วยสุก หากเป็นกล้วยน้ำว้า หากปล่อยให้สุกงอมเกินไป ปริมาณน้ำตาลจะมีมากเกิน เน้นให้ทานผักที่มีกากใยสูงต้มสุกบดละเอียด เพื่อช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น

2. เพิ่มการดื่มน้ำให้เพียงพอ

ในช่วง 1 – 6 เดือนแรกเกิดของทารกนั้นทารกควรจะทานแค่นมแม่เท่านั้น และโดยทั่วไปนมแม่มีปริมาณน้ำที่เพียงพออยู่แล้ว แต่หลังจาก 6 เดือน คุณแม่อาจปรับให้ลูกดื่มน้ำต้มสุก หลังจากมื้ออาหาร สามารถดื่มได้วันละ 1 – 3 ออนซ์ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการดื่มน้ำเปล่า และลดอาการขาดน้ำให้กับลูกได้

3. นวดทารก นวดท้องเพื่อช่วยในการขับถ่าย

นอกเหนือจากการนวดเสริมพัฒนาการแล้วการนวดทารกเช่น การนวดท้อง คลึงท้องทารก ยังช่วยในการย่อย และ ช่วยให้ลำไส้ ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้ทารกขับถ่ายได้สะดวกและสบายตัวมากขึ้น

4. ยาระบายสำหรับเด็ก

สำหรับคุณแม่ที่กังวลกับการขับถ่าย สามารถปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านเพื่อสอบถามการใช้ยาระบายในเด็กทารก หรือหากมีอาการท้องผูกบ่อย ให้คุณแม่พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของอาการให้แน่ชัดค่ะ อย่างไรก็ตามการใช้ยานั้นต้องระมัดระวังมากๆ และคุณแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อความมั่นใจ

ลูกท้องผูกเป็นอันตรายไหม?

อาการท้องผูกโดยทั่วไปจะไม่รุนแรง และมักจะหายได้หลังจากปรับเปลี่ยนการทานอาหาร แต่หากเป็นกรณีที่เกิดจากอาการลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวางแผนการรักษาต่อไป

สรุปเรื่องทารกท้องผูก

อาการท้องผูกในทารกเป็นเรื่องที่พบได้จากสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการที่ติดตัวมาแต่เกิด การขาดน้ำ หรืออาหารที่ลูกทาน แต่โดยทั่วไปแล้วไม่อันตรายและคุณแม่สามารถปรับปริมาณน้ำและอาหารให้ลูกได้เองค่ะ แต่ถ้าคุณแม่กังวล หรือลูกท้องผูกรุนแรงจนมีอาการลำไส้อุดตัน อย่าลืมปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อความมั่นใจและปลอดภัยของลูกนะคะ

และถ้าคุณแม่คนไหนที่ยังให้นมลูกอยู่ และอยากหาตัวช่วยเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมให้เจ้าตัวน้อยไปได้นานๆ อย่าลืมลองน้ำหัวปลีและผลิตภัณฑ์บำรุงน้ำนมจาก Mommylicious Juice ที่ได้รับรางวัลนานาชาติมาแล้ว มั่นใจได้ว่านอกจากจะช่วยเพิ่มน้ำนมแล้ว ยังรสชาติอร่อย เป็นธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาล และดีต่อสุขภาพของคุณแม่แน่นอนค่ะ

ลูกท้องผูกอันตรายหรือเปล่า?

ทารกท้องผูกนั้นพบได้ทั่วไป และปกติจะไม่เป็นอันตรายค่ะ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากๆ อาจจะมีอาการลำไส้อักเสบได้ คุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ

ลูกท้องผูกต้องทำยังไง?

อาการทารกท้องผูกเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการที่ติดตัวลูกมาแต่เกิด ปัญหาสุขภาพ การขาดน้ำ หรืออาหารที่ทาน คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการเพื่อดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุ ให้เจ้าตัวน้อยได้สบายตัวค่ะ 🙂

Comments are closed.