fbpx

Mommylicious Juice

Category: Child development

  • คู่มือความเป็นแม่

    คู่มือความเป็นแม่

    ความหมายของคำว่า แม่ “แม่” เป็นคำเรียกผู้ให้กำเนิด ส่วนความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำว่า แม่ หมายถึง “หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก หรือคำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน” ซึ่งนอกจากผู้ให้กำเนิด สำหรับลูกนั้น แม่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ นอกจากให้กำเนิดแล้วยังเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต แม่ยังมีความรักความเป็นห่วงให้ลูกอย่างไม่มีวันจบ คำว่า “แม่” ในแต่ละภาษามีคำเรียกที่ต่างออกไป เช่น ภาษาอังกฤษเรียกว่า มาเธอร์ (Mother) ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า มามอง (Maman) ภาษาจีนเรียกว่า มาหม่ะ (Mama) ภาษาเกาหลีใช้คำว่า ออมม่า (Omma) ซึ่งถึงแม้เสียงจะต่างกันแต่มีความคล้ายกันด้วยเสียง “ม” ซึ่งเป็นเสียงแรกตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาว่าเสียง “มามา” เป็นเสียงที่ง่ายสำหรับทารก ในการออกเสียงเพื่อขออาหาร หรือเมื่อต้องการความอบอุ่น ปลอดภัย ซึ่งแสดงว่าคำว่า “แม่” ยังบ่งบอกถึงความผูกพันในใจด้วย หน้าที่ของแม่ที่มีต่อลูกตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ครอบครัว หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร (มาตรา ๑๕๖๑ – ๑๕๘๔/๑) ได้ระบุถึงสิทธิและหน้าของบิดามารดาและบุตร มีตัวอย่างดังนี้ มาตรา…

  • พัฒนาการเด็ก 7-12 เดือน เล่นอย่างไรเสริมสร้างพัฒนาการ

    พัฒนาการเด็ก 7-12 เดือน เล่นอย่างไรเสริมสร้างพัฒนาการ

    หลังจากที่เราได้แนะนำ พัฒนาการเด็กทารกช่วง 0-6 เดือน ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะแนะนำถึงพัฒนาการเด็กทารกวัย 7-12 เดือนกันต่อ และการเสริมพัฒนาการให้เหมาะกับช่วงวัย พัฒนาการเด็กทารก คืออะไร พัฒนาการเด็กทารก คือ การเจริญเติบโตด้านต่างๆ ทางร่างกาย, สติปัญญา, ภาษา และสังคม ตั้งแต่แรกคลอด โดยในช่วง 12 เดือนแรกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยทารกแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลา โดยเราสามารถใช้พัฒนาการในแต่ละวัยในการสังเกตการเจริญเติบโตของลูกว่ามีความปกติหรือไม่ และกิจกรรมใดบ้างที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี พัฒนาการเด็ก 7 เดือน นั่งทรงตัวเองได้ ฟันเริ่มขึ้น เคี้ยวอาหารเป็นชิ้นได้ หยิบอาหารเข้าปากเองได้ การเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน ฝึกลูกทานอาหาร BLW ฝึกการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ควรเป็นของที่ปลอดภัยต่อการเอาเข้าปากและไม่ติดคอ พัฒนาการเด็ก 8 เดือน เริ่มคืบ หรือคลานได้บ้าง มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายมากขึ้น ใช้นิ้วชี้สิ่งของต่างๆได้ ชี้รูปสิ่งของตามคำที่พ่อ-แม่พูดถึงได้ การเสริมพัฒนาการเด็ก 8 เดือน อ่านนิทานพร้อมภาพประกอบ ฝึกกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา  สอนเรียกสิ่งของต่างๆเป็นคำๆ พัฒนาการเด็ก 9…

  • เรื่องน่ารู้เมื่ออัลตราซาวด์

    เรื่องน่ารู้เมื่ออัลตราซาวด์

    การอัลตราซาวด์ คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพจากภายในช่องท้อง หรือภายในครรภ์เพื่อตรวจสอบการทำงาน และรูปร่างของทารกในครรภ์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ทราบขนาด ตรวจสอบการเคลื่อนไหว และอวัยวะต่างๆว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ การนัดไปอัลตราซาวด์ นอกจากจะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังสามารถช่วยให้รับรู้ความสมบูรณ์ และพัฒนาการการเจริญเติบโตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อยได้ การเตรียมตัวก่อนอัลตราซาวด์ คุณแม่ควรไปถึงก่อนเวลาเพื่อเตรียมตัว และควรดื่มน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในกระเพาะ เพื่อให้มองเห็นลูกได้ชัดเจนขึ้น สิ่งที่แพทย์ทำการตรวจสอบในการทำอัลตราซาวด์ การวัดขนาดอวัยวะต่างๆ เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต: สมอง, หัวใจ, ไต, กระเพาะ, กระเพาะปัสสาวะ,กะบังลม, หน้า, หน้าอก, แขน, ขา, เท้า, มือ และ อวัยวะเพศ โดยขณะทำการอัลตราซาวด์ คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้น ซึ่งควรอยู่ระหว่าง 120-180 ครั้งต่อนาที ตรวจสอบกระดูกสันหลัง ว่ามีผิวหนังปกคลุมครบถ้วย หรือมีความผิดปกติหรือไม่ ระบุความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโดรม, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ระบุเพศของลูก: ความชัดเจนของเพศขึ้นอยู่กับท่าทางของลูกขณะทำการอัลตราซาวด์ หากลูกไม่อยู่ในท่าที่สามารถเห็นเพศได้ชัด อาจมีการระบุเพศคลาดเคลื่อนได้ ตรวจสอบความผิดปกติของสายสะดือ, รก และน้ำคร่ำ สรุปเรื่องการอัลตราซาวด์…

  • พัฒนาการเด็ก 0 – 6 เดือน คุณแม่ควรรู้เพื่อพัฒนาการสมวัย

    พัฒนาการเด็ก 0 – 6 เดือน คุณแม่ควรรู้เพื่อพัฒนาการสมวัย

    นอกเหนือไปจากเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแล้ว อีกหนึ่งเรื่องคุณแม่มือใหม่หลายท่าน มักจะวิตก กังวลและเครียดไปกับ ลูกคนแรก ทั้งการ กิน ดื่ม ขับถ่าย นอนหลับ และอีกมากมาย ที่เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการเด็กในช่วงวัยนี้ เราจะมีวิธีการดูแลและเสริมพัฒนาการอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรามีเคล็บลับง่ายๆ สำหรับการดูแล เสริมพัฒนาการเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก มาฝากกัน  พัฒนาการเด็กทารก คืออะไร? นับตั้งแต่เริ่ม ตั้งครรภ์ กับช่วงเวลาอุ้มท้อง 36-40 สัปดาห์ที่คุณแม่ทุกคนจะได้พบหน้ากับลูกน้อยเป็นครั้งแรก การตรวจสอบพัฒนาการของเด็กก็ถูกกำหนดขึ้น จากการที่ทารกนั้น สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ ตามช่วงวัย โดยเป็นการตอบสนองทางร่างกาย การเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ได้สังเกตได้ง่ายขึ้นว่า ตอนนี้ลูกน้อยมีพัฒนาการปกติหรือไม่อย่างไรบ้าง  พัฒนาการเด็ก 1 เดือน มีการมองตามวัตถุ หรือ คนที่เคลื่อนไหวต่างๆ  หันเอียงคอได้บ้าง ตอบสนองต่อเสียง การอุ้มทารก ช่วยให้เด็กรับรู้ถึงความปลอดภัย ลดการร้อง ตื่นตระหนกกับเสียงที่ไม่คุ้นเคย และ เริ่มรับรู้ว่าเสียงไหนเป็นเสียงพ่อ-แม่  การเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ทารกวัยแรกคลอด จนถึง…

  • นวดทารก อย่างปลอดภัย กระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธี

    นวดทารก อย่างปลอดภัย กระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธี

    หลังจากที่เรามีการแนะนำการนวดเพื่อกระตุ้นน้ำนมสำหรับคุณแม่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาคุณแม่มาดูการนวดทารก (Infant Massage) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก และ การวิจัยยังพบว่าการนวดทารก ช่วยสร้างความผูกพันของแม่และเด็กได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจะมาทำเสนอวิธีการนวดทารกแบบง่ายๆ ทั้งข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวังของการนวดต่างๆ ด้วย การนวดทารกมีประโยชน์อย่างไร? กระตุ้นพัฒนาการ เด็กวัยแรกเกิดนั้นยังมีระบบการทำงานของร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ การนวดคลึงเบาๆ ทั้งนวดลำตัว นวดหน้าท้อง นวดฝ่ามือ นวดฝ่าเท้า จะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดของทารก ทำงานได้ดีขึ้น  เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายทารก เมื่อระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กก็จะพัฒนาตามไปด้วย เสริมการเรียนรู้ จากการวิจัยพบว่าทารกที่ได้รับการสัมผัสร่างกายบ่อยๆ จะมีอารมณ์ที่ดีขึ้น มีอาการตื่นตระหนกน้อยลง มีการตอบสนองต่างๆ ดีขึ้น ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ทารกที่ได้รับการนวด จะมีการย่อยอาหาร การเรอ การขับถ่ายที่ดีกว่าเดิม เริ่มนวดทารกได้เมื่อไหร่? การนวดทารกสามารถเริ่มได้ทันที แต่สำหรับการนวดกดและลงแรงจะเริ่มได้หลังจากเด็กคลอดมา 3 – 4 สัปดาห์เป็นต้นไป เพราะในช่วงแรกคลอดนั้น ข้อต่อและกระดูกของทารกยังไม่แข็งแรงพอ การนวดหรือกดแรงเกินไป อาจเกิดอันตรายขึ้นกับร่างกายของเด็ก นวดทารกต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง? น้ำอุ่น น้ำมันนวด หรือ เบบี้ออยล์  ผ้าขนหนู วิธีการนวดทารก เริ่มต้นให้คุณพ่อหรือคุณแม่ล้างมือในน้ำอุ่น…

  • Baby Led Weaning: BLW ฝึกลูกหยิบอาหารกินเองโดยไม่ต้องป้อน

    Baby Led Weaning: BLW ฝึกลูกหยิบอาหารกินเองโดยไม่ต้องป้อน

    หลังจากทานแต่นมแม่มาตลอดหกเดือน ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะคะ ที่ลูกจะต้องใช้เวลาปรับตัวในการทานอาหารทั่วไป และวิธีการฝึกทานอาหารที่เราคุ้นชินกันส่วนใหญ่ก็คือการต้ม บด ป้อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหารไปเรื่อยๆ ซึ่งวิธีแบบนี้เราเรียกันว่า Traditional Weaning (TW) ค่ะ แต่ช่วงที่ผ่านมาเราเริ่มได้ยินคำว่า Baby Led Weaning (BLW) มากขึ้น เช่นเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ก็มีพูดถึง BLW ไว้ค่ะ เป็นทางเลือกที่ช่วยฝึกพัฒนาการลูกไปพร้อมๆ กับการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยน้อยลง เพราะไม่ต้องเตรียมบด ปั่น อาหารเป็นเวลานาน แล้วต้องเดินตามป้อนลูกไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน วันนี้มาลองดูกันว่า BLW คืออะไร?​ แล้วเราจะเริ่มสอนลูกให้ทานอาหารเองได้ยังไงได้ค่ะ 🙂 BLW คืออะไร? Baby Led Weaning หรือ BLW คือการฝึกให้ลูกทานอาหารแข็งด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ต้องป้อน ไม่ต้องใช้ช้อน ไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารก่อนค่ะ โดยจะเน้นอาหารนิ่มๆ ก่อน และเน้นให้ลูกจับไว้ในมือได้ถนัด แล้วก็ให้ลูกจับกินเองเลยค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สัมผัสของอาหาร แม้จะดูเหมือนเล่นในช่วงแรก แต่ก็เป็นอาการฝึกพัฒนาการด้าน Sensory Play อย่างนึงค่ะ…

  • Executive Functions คืออะไร?​ กิจกรรมและวิธีสอน EF

    Executive Functions คืออะไร?​ กิจกรรมและวิธีสอน EF

    Mommylicious Juice มีกิจกรรมดีๆ ในการช่วยเพิ่มความสนุกสนาน และเสริมสร้างทักษะ EF กระตุ้นพัฒนาการของเด็กๆ มาแนะนำเป็นไอเดียในการช่วยพัฒนา Executive functions ให้กับลูกกัน มาพับกับบทความ Executive functions ที่ดีที่สุดจากเรา Executive Functions คืออะไร?​ EF หรือ Executive functions คือ ทักษะที่ช่วยในด้านการคิดซึ่งทำงานในส่วนของสมองส่วนหน้า ช่วยในการเชื่อมข้อมูลความทรงจำจากในอดีตให้ผสมผสานเข้ากับช่วงเวลาปัจจุบัน รวมไปถึงทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การพลิกแพลง และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ เข้าสังคม หรือทำงาน ถ้าลูกมีปัญหาด้าน Executive functions อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถโฟกัสกับกิจกรรม ทำตามคำบอก เดินทางตามแผนที่ หรือควบคุมของตัวเองได้ และการฝึกทักษะ EF ให้กับลูก จะช่วยให้ลูกสามารถใช้ความคิด และใช้เหตุผลได้ดี สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม Executive Functions ประกอบด้วยอะไรบ้าง? Executive Functions ประกอบไปด้วย 8 ด้านหลักๆ คือ การรับรู้ (Awareness) การวางแผน…

SHOP