fbpx

พัฒนาการเด็ก 7-12 เดือน เล่นอย่างไรเสริมสร้างพัฒนาการ

ทารกหัดคลาน

หลังจากที่เราได้แนะนำ พัฒนาการเด็กทารกช่วง 0-6 เดือน ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะแนะนำถึงพัฒนาการเด็กทารกวัย 7-12 เดือนกันต่อ และการเสริมพัฒนาการให้เหมาะกับช่วงวัย

พัฒนาการเด็กทารก คืออะไร

พัฒนาการเด็กทารก คือ การเจริญเติบโตด้านต่างๆ ทางร่างกาย, สติปัญญา, ภาษา และสังคม ตั้งแต่แรกคลอด โดยในช่วง 12 เดือนแรกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยทารกแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลา โดยเราสามารถใช้พัฒนาการในแต่ละวัยในการสังเกตการเจริญเติบโตของลูกว่ามีความปกติหรือไม่ และกิจกรรมใดบ้างที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน

  • นั่งทรงตัวเองได้
  • ฟันเริ่มขึ้น
  • เคี้ยวอาหารเป็นชิ้นได้
  • หยิบอาหารเข้าปากเองได้

การเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน

ฝึกลูกทานอาหาร BLW ฝึกการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ควรเป็นของที่ปลอดภัยต่อการเอาเข้าปากและไม่ติดคอ

พัฒนาการเด็ก 8 เดือน

  • เริ่มคืบ หรือคลานได้บ้าง
  • มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายมากขึ้น
  • ใช้นิ้วชี้สิ่งของต่างๆได้ ชี้รูปสิ่งของตามคำที่พ่อ-แม่พูดถึงได้

การเสริมพัฒนาการเด็ก 8 เดือน

อ่านนิทานพร้อมภาพประกอบ ฝึกกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา  สอนเรียกสิ่งของต่างๆเป็นคำๆ

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน

  • คลานได้เก่งขึ้น แต่เด็กบางคนอาจข้ามการคลานไปเป็นการเดินจึงยังไม่ควรกังวลมาก
  • เริ่มพัฒนาความผูกพันกับคนใกล้ชิด อาจเริ่มมีความรู้สึกชอบใครมากกว่าใครเป็นพิเศษ
  • สามารถใช้มือหยิบจับอาหารแข็งๆ หรือ finger food ได้

การเสริมพัฒนาการเด็ก 9 เดือน

เด็กวัยนี้ชอบเล่นอะไรซ้ำๆ คุณแม่สามารถเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกได้โดยลูกไม่เบื่อ ฝึกลูกเล่นเปิด-ปิดหนังสือ เปิด-ปิดฝาลัง หรือเปิด-ปิดบานประตู เพื่อฝึกความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและสายตา

พัฒนาการเด็ก 10 เดือน

  • เริ่มเกาะยืน ตั้งไข่
  • สามารถก้มลงหยิบของที่พื้นได้จากท่ายืน
  • อาจเริ่มพูดคำแรก มีความสนใจการพูดคุย
  • เริ่มสื่อสารโดยใช้ท่าทางต่างๆ

การเสริมพัฒนาการเด็ก 10 เดือน

พูดคุยกับลูกมากๆ และใช้ท่าทางประกอบคำพูดในการคุยเช่น โบกมือบ๊ายบาย, ตบมือดีใจ และควรเฝ้าระวังความปลอดภัยสำหรับลูกเนื่องจากลูกจะคลานหรือเดินไปทั่ว

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน

  • เริ่มพูดเป็นคำง่ายๆ “ปาปา” “มามา” “หม่ำๆ”
  • เข้าใจการห้าม เข้าใจคำว่า “ไม่”
  • เริ่มสื่อสารด้วยภาษากายและท่าทางต่างๆ เช่น พยักหน้า, ส่ายหัว, ชี้นิ้ว

การเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน

ให้เล่นของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ เพื่อฝึกความสัมพันธ์ทางสายตาและสิ่งของที่เคลื่อนที่ และให้ฝึกห้ามลูกในเรื่องที่เป็นอันตราย

พัฒนาการเด็ก 12 เดือน

  • เกาะเดินได้ หรืออาจเริ่มก้าวเดินได้แล้ว
  • เริ่มเข้าใจคำต่างๆ ได้มากขึ้น
  • สามารถเอาอาหารเข้าปากโดยใช้ช้อนได้เอง

การเสริมพัฒนาการเด็ก 12 เดือน

ฝึกให้ลูกดื่มน้ำหรือนมจากถ้วย เพื่อพัฒนาการหยิบจับ สนับสนุนกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย

baby walking

เด็กๆแต่ละคนอาจะมีพัฒนาการแตกต่างกันบ้าง บางคนอาจเริ่มพูดได้เร็ว บางคนอาจเริ่มเดินได้เร็ว แต่หากมีความสงสัยว่าลูกมีพัฒนาการช้าผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ และนอกจากการฝึกการเล่นต่างๆ เพื่อเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย ได้เรียนรู้ และ ช่วยให้ เด็กในช่วงวัย 7– 12 เดือน เติบโตได้ดี  มีพัฒนาการสมวัยแล้ว อีกปัจจัยที่จะช่วยให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย ก็คือการให้นมแม่ให้ได้นานที่สุด เพราะนมแม่ไม่เคยหมดคุณค่าไม่ว่าจะนานเพียงใด บำรุงน้ำนมแม่ด้วยเครื่องดื่มบำรุงน้ำนมแม่และน้ำหัวปลี Mommylicious Juice ที่ดื่มง่าย อร่อย พกพาสะดวก ชนะรางวัลสุดยอดนวัตกรรม เป็นตัวช่วยที่จะช่วยให้คุณแม่ได้มอบของขวัญล้ำค่าแก่ลูกน้อยด้วยนมแม่ได้นานเท่าที่ตั้งใจค่ะ

Images Credit:
Photo by Picsea on Unsplash
Photo by Priscila Du Preez on Unsplash

ถ้าลูกมีพัฒนาการช้า ควรทำอย่างไร?

หากคุณแม่สงสัยว่าลูกของตนเองนั้น มีพัฒนาการช้ากว่าปกติของเด็กวัยเดียวกัน ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้คุณหมอประเมินพัฒนาการน้องจะดีที่สุดค่ะ

เขียดตบปาก จะช่วยให้ลูกพูดจริงหรือไม่

จริงๆแล้ว ในทางการแพทย์สมัยใหม่ คุณหมอจะไม่นิยมให้ใช้เขียดตบปากลูกนะคะ เพราะเขียดอาจจะมีเชื้อโรค อีกทั้งยังเป็นการกระทำเชิงลบ ที่ทำให้ลูกมีสิ่งฝังใจได้
วิธีที่ดีที่คุณแม่จะให้ลูกพูดก็คือ
1. จ้องตาลูกเวลาพูด
2. พูดกับลูกเยอะๆ จะทำให้ลูกมีคลังคำศัพท์
3. ชมเสมอเวลาเค้าพยายามออกเสียงหรือพูด

4. ไม่เปิดทีวีหรือให้ดูจอ

พื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก เป็นอย่างไร

สำหรับเด็กวัย 7-12 เดือน พื้นที่ปลอดภัยควรเป็นพื้นที่จำกัด เช่น คอกกั้นเด็ก หรือห้อง ที่ไม่มีรูปลั๊ก หรือสายไฟ พัดลมที่จะให้เอานิ้วแหย่ หรือแม้แต่สิ่งของชิ้นเล็กที่สามารถอุดตันหลอดลม และทำให้เกิดอันตรายได้ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่ที่เค้าไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เลย เด็กในวัยนี้เต็มไปด้วยการเรียนรู้ และทดลองค่ะ

Comments are closed.