fbpx

เรื่องน่ารู้เมื่ออัลตราซาวด์

การอัลตราซาวด์ คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพจากภายในช่องท้อง หรือภายในครรภ์เพื่อตรวจสอบการทำงาน และรูปร่างของทารกในครรภ์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ทราบขนาด ตรวจสอบการเคลื่อนไหว และอวัยวะต่างๆว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

การนัดไปอัลตราซาวด์ นอกจากจะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังสามารถช่วยให้รับรู้ความสมบูรณ์ และพัฒนาการการเจริญเติบโตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อยได้

การเตรียมตัวก่อนอัลตราซาวด์

คุณแม่ควรไปถึงก่อนเวลาเพื่อเตรียมตัว และควรดื่มน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในกระเพาะ เพื่อให้มองเห็นลูกได้ชัดเจนขึ้น

สิ่งที่แพทย์ทำการตรวจสอบในการทำอัลตราซาวด์

  • การวัดขนาดอวัยวะต่างๆ เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต: สมอง, หัวใจ, ไต, กระเพาะ, กระเพาะปัสสาวะ,กะบังลม, หน้า, หน้าอก, แขน, ขา, เท้า, มือ และ อวัยวะเพศ โดยขณะทำการอัลตราซาวด์ คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้น ซึ่งควรอยู่ระหว่าง 120-180 ครั้งต่อนาที
  • ตรวจสอบกระดูกสันหลัง ว่ามีผิวหนังปกคลุมครบถ้วย หรือมีความผิดปกติหรือไม่
  • ระบุความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโดรม, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคปากแหว่งเพดานโหว่
  • ระบุเพศของลูก: ความชัดเจนของเพศขึ้นอยู่กับท่าทางของลูกขณะทำการอัลตราซาวด์ หากลูกไม่อยู่ในท่าที่สามารถเห็นเพศได้ชัด อาจมีการระบุเพศคลาดเคลื่อนได้
  • ตรวจสอบความผิดปกติของสายสะดือ, รก และน้ำคร่ำ

สรุปเรื่องการอัลตราซาวด์

การอัลตราซาวด์เป็นการตรวจสอบความแข็งแรงในการตั้งครรภ์ของคุณแม่ เป็นการตรวจวัดสุขภาพของลูกเพื่อหาสิ่งผิดปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

ซึ่งถึงแม้ว่าการอัลตราซาวด์อาจทำให้คุณแม่กังวลว่าจะพบความปกติในการตั้งครรภ์ แต่หากทราบได้เร็วก็จะช่วยให้ทีมแพทย์วางแผนการรักษาได้ดี และยังช่วยให้คุณแม่เตรียมพร้อมรับมือได้เร็วขึ้นด้วย

การอัลตราซาวด์มีกี่แบบ?

การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด: ใช้กับอายุครรภ์ต่ำกว่า 10 สัปดาห์ เพื่อวัดความยาวปากมดลูกและระยะห่างของขอบรก

การอัลตราซาวด์ทางหน้าท้อง: ใช้กับอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป คุณหมอจะทาเจลเย็นๆบริเวณหน้าท้อง แล้วใช้หัวตรวจเคลื่อนไปมา

เริ่มอัลตราซาวด์ได้เมื่อไหร่?

สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อเริ่มฝากครรภ์ แต่หากการตั้งครรภ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอาจไม่จำเป็นต้องอัลตราซาวด์ในช่วงแรก สามารถรอจนเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการของลูก

ควรอัลตราซาวด์บ่อยแค่ไหน?

หากการตั้งครรภ์มีความปกติ คุณหมออาจจะนัดตรวจเพียงไตรมาสละ 1 ครั้ง แต่หากมีภาวะแทรกซ้อน หรือการตั้งครรภ์มีความเสี่ยง คุณหมออาจจะนัดถี่กว่าเดิม ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละท่าน

อัลตราซาวด์ 4 มิติ มีความจำเป็นหรือไม่?

การอัลตราซาวด์ 4 มิติ นอกจากจะเห็นภาพลูกแบบ 3 มิติเสมือนจริงแล้ว ยังเป็นการอัลตราซาวด์ที่เกิดการเคลื่อนไหวได้ด้วย คุณแม่จะเห็นภาพลูกเคลื่อนไหวได้ชัดเจนขณะตรวจ แต่ก็เป็นการใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนและมีราคาแพง จึงอาจไม่จำเป็นมากเนื่องจากการอัลตราซาวด์แบบปกติก็สามารถระบุพัฒนาการและสุขภาพการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

Image Credits

Photo by Jonathan Sanchez from Unsplash

Photo by Christian Bowen from Unsplash

Comments are closed.