fbpx

Mommylicious Juice

Tag: baby

  • น้ำหนักลูกในครรภ์: เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรง

    น้ำหนักลูกในครรภ์: เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรง

    การตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์สำหรับคุณแม่คนหนึ่ง ตั้งแต่ทราบว่าตัวเองตั้งท้อง จากผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง มาเป็นผู้หญิงที่ดูแล ปกป้อง เลี้ยงดูมนุษย์ตัวจิ๋วในครรภ์ด้วย เลือด เนื้อ และความรักของตัวเอง ต้องเรียกว่าคุณแม่ใช้ชีวิตอยู่เพื่อลูกโดยแท้จริง เพราะเธอเลือกอาหารที่ทาน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์เสมอ ซึ่งในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ หนึ่งในเกณฑ์สำหรับพิจารณาว่าลูกเติบโตอย่างสุขภาพดีหรือไม่ก็คือน้ำหนักของลูก ซึ่งบางครั้งหากคุณแม่น้ำหนักไม่ขึ้นในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ มีความเป็นไปได้ว่าลูกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ วิธีวัดน้ำหนักตัวลูกน้อยในครรภ์ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ดูจากน้ำหนักของคุณแม่: หลังจากตั้งครรภ์ได้ครบ 3 เดือน น้ำหนักคุณแม่ควรขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม การวัดความสูงยอดมดลูก: ใช้สายวัดวัดระดับยอดมดลูก โดยการวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดมดลูก โดยแนบตามส่วนโค้งของมดลูก ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 18–30 สัปดาห์ ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น หากอายุครรถ์ 25 สัปดาห์ ควรวัดได้ 25 เซนติเมตร อัลตราซาวด์: การอัลตราซาวด์ช่วยประเมินน้ำหนักลูกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ และสามารถวัดขนาดตัวของลูกได้ โดยจะประเมินจาก ปริมาณน้ำคร่ำในท้อง ขนาดหน้าท้อง การลอยตัวของทารก สาเหตุที่ทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ พันธุกรรม: คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตัวเล็ก ลูกจึงมีน้ำหนักน้อยหรือตัวเล็กตาม มีความผิดปกติทางโครโมโซมของลูก หรือพิการแต่กำเนิด…

  • ขวดนมของเด็กแรกเกิด วิธีเลือกและการใช้งานขวดนมสำหรับคุณแม่

    ขวดนมของเด็กแรกเกิด วิธีเลือกและการใช้งานขวดนมสำหรับคุณแม่

    นอกจากการดูดนมแม่จากเต้าแล้ว การใช้ขวดนมเป็นอีกสิ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะการเลือกขวดนมเด็กแรกเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทั้งขนาด วัสดุที่ใช้ ราคา และยังมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซึ่งหลังจากเริ่มให้ลูกดูดนมจากเต้าแล้ว การแนะนำลูกให้เริ่มใช้ขวดนมก็เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่จำเป็น เพื่อต่อยอดไปสู่การดื่มนมจากแก้วหรือกล่อง เพื่อให้คุณแม่ได้พักเต้าและมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น  สำหรับการเลือก ขวดนม ให้กับลูกนั้น จะมีปัจจัยอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ ให้ลูกเริ่มใช้ขวดนม ตอนอายุเท่าไหร่? นานแค่ไหน? การเริ่มต้นให้ลูกดื่มนมจากขวดนม (Bottle-Feeding) สามารถเริ่มได้ทันทีหลังจากลูกเริ่มดูดนมจากเต้า แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรให้เริ่มดูดนมจาก ขวดนมเด็ก หลังจากลูกมีอายุ 3 – 4 สัปดาห์ เหตุผลเพราะว่า เด็กแรกเกิดจะยังต้องทำความคุ้นชินกับการดูดนม ต้องมีแม่คอยดู คอยป้อนและทำให้ลูกรู้ว่าเขากำลังดูดนมอย่างปลอดภัย และ อบอุ่น นอกจากนี้ การที่ลูกดูดนมจากเต้ายังเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่ เพื่อที่ร่างกายจะรับรู้และเร่งผลิตน้ำนม ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก ช่วยให้คุณแม่สามารถปั๊มนมสำรองไว้ได้มากพอสำหรับการให้ลูก เพื่อให้ลูกน้อยหัดดูดนมจากขวดนมอีกด้วย   ในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณแม่ควรให้นมลูกปริมาณ 1 – 2 ออนซ์ เป็นประจำทุก 3 – 4 ชั่วโมง ลูกจะมีอาการงอแงบ้างเวลาหิวและจะนิ่งสงบเมื่อได้ดื่มนม ได้รับการกอด อุ้ม…

  • ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่

    ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่

    ในช่วงแรกเกิด นอกจากคุณแม่จะต้องดูและหมั่นตรวจสอบ พัฒนาการของลูกน้อยแล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหนึ่งในอาการที่พบได้ในวัยทารกคือ อาการท้องผูก เพราะบางครั้งทารกได้รับสารอาหารและมีการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ วันนี้มาดูรายละเอียดกันค่ะ ว่าคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยและมีวิธีป้องกันลูกจาก อาการท้องผูก อย่างไรบ้าง วิธีการสังเกตอาการท้องผูกสำหรับทารก การสังเกตอาการท้องผูกของทารก มีจุดสังเกตที่คุณแม่สามารถตรวจสอบอาการของลูกน้อยได้ ดังนี้ ทารกมีอาการอึดอัด ร้องไห้ และไม่สบายตัวในช่วงที่ขับถ่าย อุจจาระ/กลิ่นลม มีกลิ่นเหม็นคลุ้งผิดปกติ เพราะโดยทั่วไปทารกจะดื่มนมแม่เป็นหลักและอุจจาระที่มาจากนมแม่จะไม่มีกลิ่นแรง ทารก ทานอาหารได้น้อยลงอย่างชัดเจน มีการเบื่ออาหารไม่สามารถทานได้ตามปกติ เมื่อกดท้องเบาๆ จะพบว่าท้องแข็ง ไม่สามารถกดลงไปได้มาก สาเหตุที่ลูกท้องผูกมีอะไรบ้าง​? เด็กทารกแต่ละช่วงวัย มักจะมีสาเหตุของอาการท้องผูกที่แตกต่างกันไปค่ะ ลองดูสาเหตุของอาการท้องผูกในแต่ละช่วงวัยกัน สาเหตุของอาการท้องผูกของลูกตั้งแต่เกิด ถึง 6 เดือน 1. ลูกแพ้โปรตีนในน้ำนม โดยทั่วไปน้ำนมแม่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด พร้อมกับมีโปรตีนและไขมัน ที่ช่วยให้อุจจาระจับตัวได้ดี ย่อยง่ายส่งผลให้ขับถ่ายได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีนั้น ทารกมีอาการแพ้ และไม่สามารถย่อยโปรตีนหรือสารอาหารบางอย่างที่คุณแม่ทานเข้าไปและส่งผ่านไปยังทารก จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ 2. ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ จึงไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 3. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิดคือหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก…

  • Baby Led Weaning: BLW ฝึกลูกหยิบอาหารกินเองโดยไม่ต้องป้อน

    Baby Led Weaning: BLW ฝึกลูกหยิบอาหารกินเองโดยไม่ต้องป้อน

    หลังจากทานแต่นมแม่มาตลอดหกเดือน ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะคะ ที่ลูกจะต้องใช้เวลาปรับตัวในการทานอาหารทั่วไป และวิธีการฝึกทานอาหารที่เราคุ้นชินกันส่วนใหญ่ก็คือการต้ม บด ป้อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหารไปเรื่อยๆ ซึ่งวิธีแบบนี้เราเรียกันว่า Traditional Weaning (TW) ค่ะ แต่ช่วงที่ผ่านมาเราเริ่มได้ยินคำว่า Baby Led Weaning (BLW) มากขึ้น เช่นเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ก็มีพูดถึง BLW ไว้ค่ะ เป็นทางเลือกที่ช่วยฝึกพัฒนาการลูกไปพร้อมๆ กับการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยน้อยลง เพราะไม่ต้องเตรียมบด ปั่น อาหารเป็นเวลานาน แล้วต้องเดินตามป้อนลูกไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน วันนี้มาลองดูกันว่า BLW คืออะไร?​ แล้วเราจะเริ่มสอนลูกให้ทานอาหารเองได้ยังไงได้ค่ะ 🙂 BLW คืออะไร? Baby Led Weaning หรือ BLW คือการฝึกให้ลูกทานอาหารแข็งด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก ไม่ต้องป้อน ไม่ต้องใช้ช้อน ไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารก่อนค่ะ โดยจะเน้นอาหารนิ่มๆ ก่อน และเน้นให้ลูกจับไว้ในมือได้ถนัด แล้วก็ให้ลูกจับกินเองเลยค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้สัมผัสของอาหาร แม้จะดูเหมือนเล่นในช่วงแรก แต่ก็เป็นอาการฝึกพัฒนาการด้าน Sensory Play อย่างนึงค่ะ…

  • หัวนมแตกทำยังไง? ดูแลหัวนมแตกด้วยเคล็ดลับจากคุณแม่ตัวจริง

    หัวนมแตกทำยังไง? ดูแลหัวนมแตกด้วยเคล็ดลับจากคุณแม่ตัวจริง

    สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคนการให้นมแม่กับลูกเปรียบเหมือนของขวัญล้ำค่า ที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแร็งและมีความสุข แต่บางครั้งการให้นมแม่ก็มาพร้อมกับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการเต้านมอักเสบ โดนลูกกัด หรืออาการหัวนมแตก Mommylicious Juice มีวิธีดูแลตัวเองเมื่อประสบปัญหาหัวนมแตกมาแนะนำค่ะ อาหารหัวนมแตกเป็นยังไง? คุณแม่จะรู้สึกเจ็บที่หัวนม หัวนมจะแข็ง แตก และอาจจะมีอาการเลือดออกร่วมด้วย มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมลูก หัวนมแตกเกิดจากอะไร? อาการหัวนมแตกของคุณแม่มีหลายสาเหตุดังนี้ 1.ลูกมีพังผืดบริเวณใต้ลิ้น หากพบว่าลูกมีพังผืดขึ้นที่บริเวณใต้ลิ้น ก็อาจส่งผลให้เมื่อลูกดื่มนมของคุณแม่แล้ว จะทำให้หัวนมของคุณแม่เกิดการแตกได้ค่ะ 2.ให้นมลูกผิดท่า การให้นมลูกแบบผิดท่า ก็สามารถทำให้หัวนมของคุณแม่แตกได้เช่นกัน เช่นการให้ลูกนอนตะแคงแบบไม่หันตัวไปในทางเดียวกันทั้งตัว หรือแม้แต่การจับลูกนอนหงายขณะกินนมแบบผิดวิธี 3.การปล่อยให้นมคัดตึง การที่คุณแม่ปล่อยให้เต้านมมีความคัดตึง โดยไม่มีการนวด หรือการปล่อยให้บริเวณลานนมมีความเเข็ง ก็จะทำให้หัวนมแตกได้เช่นเดียวกัน 4.ลูกดูดนมผิดวิธี การให้ลูกดูดนมโดยให้อมเพียงบริเวณหัวนม ก็อาจทำให้ลูกเกิดการเคี้ยวหัวนมด้วยเหงือก จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บ เกิดภาวะหัวนมแตก และอาจส่งผลให้เลือดออกได้ 5.การดึงเต้านมออกจากปากลูก อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดหัวนมแตกก็คือ การที่คุณแม่ดึงเต้านมออกจากปากลูก หลังจากที่ลูกทานนมเสร็จแล้วแบบผิดวิธี จึงทำให้เกิดการดึงรั้งไปที่หัวนมได้ค่ะ 6.ผิวบริเวณหัวนมแห้ง การที่คุณแม่ทำความสะอาดผิวบริเวณหัวนม ด้วยการใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง หรือการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม ก็จะส่งผลให้ผิวบริเวณหัวนมมีความแห้ง และเกิดอาการหัวนมแตกได้ค่ะ วิธีรับมืออาการหัวนมแตก ลองมาดูวิธีการรักษาอาการหัวนมแตก เพื่อให้คุณแม่สามารถให้น้ำนมแม่กับลูกน้อยได้อย่างสบายใจในทุกช่วงระยะของน้ำนมกันค่ะ 1.ดึงหัวนมออกจากปากลูกให้ถูกวิธี วิธีนี้สามารถทำได้โดยการ ทำการคลายการดูดของลูกออกก่อน แล้วจึงค่อยดึงหัวนมออกจากปากของลูกค่ะ 2.งดการใช้สบู่และแอลกอฮอล์ การใช้สบู่และแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม…

  • นมแม่: คู่มือน้ำนมแม่เพื่อคุณแม่ทุกคน ครบถ้วนที่สุด อัปเดต 2021

    นมแม่: คู่มือน้ำนมแม่เพื่อคุณแม่ทุกคน ครบถ้วนที่สุด อัปเดต 2021

    น้ำนมแม่เป็นเหมือนของขวัญอันล้ำค่าชิ้นแรกของลูก กว่าที่ลูกคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องดูแล รวมถึงให้น้ำนมดื่มกิน เพื่อสร้างการเจริญเติบโต รวมถึงสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก ให้แน่นแฟ้น ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลถึงสภาพร่างกาย และจิตใจของลูกไปถึงอนาคต Mommylicious Juice จึงอยากรวบรวมทุกเครื่องเกี่ยวกับนมแม่ เพื่อให้คุณแม่ทุกคนสามารถให้นมแม่ได้มากและนานที่สุดเพื่อลูกน้อย รวมถึงปัญหา เช่นท่อน้ำนมตัน หัวนมแตก หรือผมร่วงหลังคลอด ข้อควรระวัง และคำถามต่างๆ เส้นทางการให้นม ระยะก่อนคลอด คุณแม่ควรศึกษาหาความรู้ เรื่องนมแม่ และประโยชน์ต่างๆที่ลูกจะได้ รวมถึงวิธีการปั๊มนม การนวดเต้านม การเตรียมอาหารคนท้อง และหลังคลอด หรือเครื่องดื่มมัมมี้ลิเชียสจูซ เพื่อบำรุงร่างกายและน้ำนม การวางแผนการทำงานบ้าน หรือแม้แต่การเลือกโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการดื่มนมแม่เป็นต้นค่ะ เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว จะทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น เพราะได้รับการวางแผนมาแล้วนั่นเอง ช่วงหลังคลอด หลังลูกเกิดภายใน 1 ชั่วโมง ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าในทันที เพราะน้ำนมชุดเเรกหรือน้ำนมเหลืองที่ออกมา จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกมากทีเดียวค่ะ โดยควรฝึกการอุ้มลูกให้ถูกท่า และให้ลูกดูดนมลึกเข้าไปจนถึงลานนม ควรให้ลูกดูดนมแม่ให้บ่อยที่สุดเท่าที่ลูกจะต้องการ ได้ถึ ง8-12 ครั้ง ต่อวันเลยทีเดียวค่ะ และก่อนที่คุณแม่จะกลับบ้าน ควรบีบน้ำนมให้เป็น เพื่อที่จะสามารถบีบน้ำนมด้วยตัวเอง และลดอาการคัดเต้าได้ 1 เดือนแรก…

SHOP