fbpx

Mommylicious Juice

Category: Baby Heath

  • อึลูกบ่งบอกสุขภาพ

    อึลูกบ่งบอกสุขภาพ

    การขับถ่ายของลูกบ่งบอกสุขภาพภายในได้เป็นอย่างดี ดังนั้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกอยู่เสมอ เพื่อเช็กสุขภาพลูกว่ามีความปกติหรือไม่ โดยคุณแม่สามารถเช็กเบื้องต้นได้จากจำนวนครั้งที่ขับถ่าย และการสังเกตสีและลักษณะของอุจจาระของลูก จำนวนครั้งของการขับถ่ายในเด็กนมแม่ แรกเกิด–1 เดือน: อุจจาระวันละ 10 ครั้ง 1–4 เดือน: ลดปริมาณอุจจาระเหลือวันละ 6-8 ครั้ง 5-6 เดือน: การอุจจาระลดลงเหลือ 1-2 ครั้งต่อวัน หากเริ่มเสริมอาหารแล้วอาจมีการท้องผูกในช่วงแรก การสังเกตอุจจาระของเด็กแรกเกิด ลักษณะของอุจจาระของลูกในช่วงแรกจะมีความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย โดยหากมีลักษณะดังนี้บ่งบอกว่าสุขภาพเป็นปกติ โดยในช่วงนี้สารที่ทำลูกตัวเหลืองก็จะถูกขับออกมาด้วย อายุ 1-2 วันแรก: สีเขียวเข้มถึงดำคล้ายน้ำมันดิบ หรือเรียกว่า ขี้เทา (meconium)  ซึ่งเป็นอุจจาระในลำไส้ของลูกตั้งแต่ยังอยู่ในท้องคุณแม่ ถึงแม้ไม่ได้ทานอาหาร แต่เกิดจากการกลืนน้ำคร่ำ และสารบางอย่างที่สร้างจากทางเดินอาหารของลูก อายุ 2 วัน: สีเขียวจางลงอาจมีสีน้ำตาลปน มีน้ำเพิ่มขึ้น อายุ 3-4 วัน: มีปริมาณอุจจาระมากขึ้น มีความเหนียวน้อยลง และมีสีเขียวปนเหลือง อายุ 4 วันขึ้นไป: มีสีเหลืองทอง ลักษณะนิ่มปนเหลว อายุน้อยกว่า 6…

  • เรื่องน่ารู้เมื่ออัลตราซาวด์

    เรื่องน่ารู้เมื่ออัลตราซาวด์

    การอัลตราซาวด์ คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพจากภายในช่องท้อง หรือภายในครรภ์เพื่อตรวจสอบการทำงาน และรูปร่างของทารกในครรภ์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ทราบขนาด ตรวจสอบการเคลื่อนไหว และอวัยวะต่างๆว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ การนัดไปอัลตราซาวด์ นอกจากจะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังสามารถช่วยให้รับรู้ความสมบูรณ์ และพัฒนาการการเจริญเติบโตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อยได้ การเตรียมตัวก่อนอัลตราซาวด์ คุณแม่ควรไปถึงก่อนเวลาเพื่อเตรียมตัว และควรดื่มน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในกระเพาะ เพื่อให้มองเห็นลูกได้ชัดเจนขึ้น สิ่งที่แพทย์ทำการตรวจสอบในการทำอัลตราซาวด์ การวัดขนาดอวัยวะต่างๆ เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโต: สมอง, หัวใจ, ไต, กระเพาะ, กระเพาะปัสสาวะ,กะบังลม, หน้า, หน้าอก, แขน, ขา, เท้า, มือ และ อวัยวะเพศ โดยขณะทำการอัลตราซาวด์ คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้น ซึ่งควรอยู่ระหว่าง 120-180 ครั้งต่อนาที ตรวจสอบกระดูกสันหลัง ว่ามีผิวหนังปกคลุมครบถ้วย หรือมีความผิดปกติหรือไม่ ระบุความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโดรม, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ระบุเพศของลูก: ความชัดเจนของเพศขึ้นอยู่กับท่าทางของลูกขณะทำการอัลตราซาวด์ หากลูกไม่อยู่ในท่าที่สามารถเห็นเพศได้ชัด อาจมีการระบุเพศคลาดเคลื่อนได้ ตรวจสอบความผิดปกติของสายสะดือ, รก และน้ำคร่ำ สรุปเรื่องการอัลตราซาวด์…

  • น้ำหนักลูกในครรภ์: เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรง

    น้ำหนักลูกในครรภ์: เพื่อการตั้งครรภ์ที่แข็งแรง

    การตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์สำหรับคุณแม่คนหนึ่ง ตั้งแต่ทราบว่าตัวเองตั้งท้อง จากผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง มาเป็นผู้หญิงที่ดูแล ปกป้อง เลี้ยงดูมนุษย์ตัวจิ๋วในครรภ์ด้วย เลือด เนื้อ และความรักของตัวเอง ต้องเรียกว่าคุณแม่ใช้ชีวิตอยู่เพื่อลูกโดยแท้จริง เพราะเธอเลือกอาหารที่ทาน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์เสมอ ซึ่งในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ หนึ่งในเกณฑ์สำหรับพิจารณาว่าลูกเติบโตอย่างสุขภาพดีหรือไม่ก็คือน้ำหนักของลูก ซึ่งบางครั้งหากคุณแม่น้ำหนักไม่ขึ้นในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ มีความเป็นไปได้ว่าลูกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ วิธีวัดน้ำหนักตัวลูกน้อยในครรภ์ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ดูจากน้ำหนักของคุณแม่: หลังจากตั้งครรภ์ได้ครบ 3 เดือน น้ำหนักคุณแม่ควรขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม การวัดความสูงยอดมดลูก: ใช้สายวัดวัดระดับยอดมดลูก โดยการวัดระยะจากรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวไปจนถึงยอดมดลูก โดยแนบตามส่วนโค้งของมดลูก ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 18–30 สัปดาห์ ระยะที่วัดได้เป็นเซนติเมตร จะเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น หากอายุครรถ์ 25 สัปดาห์ ควรวัดได้ 25 เซนติเมตร อัลตราซาวด์: การอัลตราซาวด์ช่วยประเมินน้ำหนักลูกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถมองเห็นความสมบูรณ์ และสามารถวัดขนาดตัวของลูกได้ โดยจะประเมินจาก ปริมาณน้ำคร่ำในท้อง ขนาดหน้าท้อง การลอยตัวของทารก สาเหตุที่ทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ พันธุกรรม: คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตัวเล็ก ลูกจึงมีน้ำหนักน้อยหรือตัวเล็กตาม มีความผิดปกติทางโครโมโซมของลูก หรือพิการแต่กำเนิด…

  • ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่

    ลูกท้องผูกทำยังไง? สาเหตุและวิธีดูแลทารกท้องผูกสำหรับคุณแม่

    ในช่วงแรกเกิด นอกจากคุณแม่จะต้องดูและหมั่นตรวจสอบ พัฒนาการของลูกน้อยแล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหนึ่งในอาการที่พบได้ในวัยทารกคือ อาการท้องผูก เพราะบางครั้งทารกได้รับสารอาหารและมีการย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ วันนี้มาดูรายละเอียดกันค่ะ ว่าคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยและมีวิธีป้องกันลูกจาก อาการท้องผูก อย่างไรบ้าง วิธีการสังเกตอาการท้องผูกสำหรับทารก การสังเกตอาการท้องผูกของทารก มีจุดสังเกตที่คุณแม่สามารถตรวจสอบอาการของลูกน้อยได้ ดังนี้ ทารกมีอาการอึดอัด ร้องไห้ และไม่สบายตัวในช่วงที่ขับถ่าย อุจจาระ/กลิ่นลม มีกลิ่นเหม็นคลุ้งผิดปกติ เพราะโดยทั่วไปทารกจะดื่มนมแม่เป็นหลักและอุจจาระที่มาจากนมแม่จะไม่มีกลิ่นแรง ทารก ทานอาหารได้น้อยลงอย่างชัดเจน มีการเบื่ออาหารไม่สามารถทานได้ตามปกติ เมื่อกดท้องเบาๆ จะพบว่าท้องแข็ง ไม่สามารถกดลงไปได้มาก สาเหตุที่ลูกท้องผูกมีอะไรบ้าง​? เด็กทารกแต่ละช่วงวัย มักจะมีสาเหตุของอาการท้องผูกที่แตกต่างกันไปค่ะ ลองดูสาเหตุของอาการท้องผูกในแต่ละช่วงวัยกัน สาเหตุของอาการท้องผูกของลูกตั้งแต่เกิด ถึง 6 เดือน 1. ลูกแพ้โปรตีนในน้ำนม โดยทั่วไปน้ำนมแม่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด พร้อมกับมีโปรตีนและไขมัน ที่ช่วยให้อุจจาระจับตัวได้ดี ย่อยง่ายส่งผลให้ขับถ่ายได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีนั้น ทารกมีอาการแพ้ และไม่สามารถย่อยโปรตีนหรือสารอาหารบางอย่างที่คุณแม่ทานเข้าไปและส่งผ่านไปยังทารก จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ 2. ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ จึงไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 3. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิดคือหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก…

  • นมแม่: คู่มือน้ำนมแม่เพื่อคุณแม่ทุกคน ครบถ้วนที่สุด อัปเดต 2021

    นมแม่: คู่มือน้ำนมแม่เพื่อคุณแม่ทุกคน ครบถ้วนที่สุด อัปเดต 2021

    น้ำนมแม่เป็นเหมือนของขวัญอันล้ำค่าชิ้นแรกของลูก กว่าที่ลูกคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องดูแล รวมถึงให้น้ำนมดื่มกิน เพื่อสร้างการเจริญเติบโต รวมถึงสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก ให้แน่นแฟ้น ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลถึงสภาพร่างกาย และจิตใจของลูกไปถึงอนาคต Mommylicious Juice จึงอยากรวบรวมทุกเครื่องเกี่ยวกับนมแม่ เพื่อให้คุณแม่ทุกคนสามารถให้นมแม่ได้มากและนานที่สุดเพื่อลูกน้อย รวมถึงปัญหา เช่นท่อน้ำนมตัน หัวนมแตก หรือผมร่วงหลังคลอด ข้อควรระวัง และคำถามต่างๆ เส้นทางการให้นม ระยะก่อนคลอด คุณแม่ควรศึกษาหาความรู้ เรื่องนมแม่ และประโยชน์ต่างๆที่ลูกจะได้ รวมถึงวิธีการปั๊มนม การนวดเต้านม การเตรียมอาหารคนท้อง และหลังคลอด หรือเครื่องดื่มมัมมี้ลิเชียสจูซ เพื่อบำรุงร่างกายและน้ำนม การวางแผนการทำงานบ้าน หรือแม้แต่การเลือกโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการดื่มนมแม่เป็นต้นค่ะ เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว จะทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น เพราะได้รับการวางแผนมาแล้วนั่นเอง ช่วงหลังคลอด หลังลูกเกิดภายใน 1 ชั่วโมง ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าในทันที เพราะน้ำนมชุดเเรกหรือน้ำนมเหลืองที่ออกมา จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกมากทีเดียวค่ะ โดยควรฝึกการอุ้มลูกให้ถูกท่า และให้ลูกดูดนมลึกเข้าไปจนถึงลานนม ควรให้ลูกดูดนมแม่ให้บ่อยที่สุดเท่าที่ลูกจะต้องการ ได้ถึ ง8-12 ครั้ง ต่อวันเลยทีเดียวค่ะ และก่อนที่คุณแม่จะกลับบ้าน ควรบีบน้ำนมให้เป็น เพื่อที่จะสามารถบีบน้ำนมด้วยตัวเอง และลดอาการคัดเต้าได้ 1 เดือนแรก…

SHOP