Tag: momsmilk
-
น้ำนมน้อยทำยังไงดี? พร้อมเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่
คงจะมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ที่กำลังประสบปัญหา น้ำนมน้อย ไม่เพียงพอให้ลูกรักดื่ม จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่าน เพราะกังวลว่าลูกน้อยจะรับสารอาหารสำคัญไม่เพียงพอ ซึ่งตามหลักทางโภชนาการแล้ว น้ำนมแม่ถือว่ามีสารอาหารสำคัญมากที่สุด เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กอีกด้วย วันนี้เราเลยอยากจะชวนคุณแม่ทุกท่านมาไขข้อข้องใจ ว่าปัญหาน้ำนมน้อยนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะมีเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่อย่างไรให้ลูกรักดื่ม ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ น้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร ? กระบวนการการผลิตน้ำนมนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติน ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำนม แต่ยังไม่หลั่งออกมาเพราะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากเด็กทารกคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งอยู่ หลังจากที่คุณแม่คลอดเด็กทารกแล้ว ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เคยหลั่งเพื่อสร้างเด็กทารกก็จะหลั่งน้อยลงจนหยุดลงในที่สุด ส่งผลให้กลไกการยับยั้งน้ำนมหายไป เมื่อลูกน้อยได้ดื่มก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินให้หลังมากขึ้น ซึ่งถ้ายิ่งหลั่งมาก ก็จะเกิดการผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นมากเท่านั้นนั่นเอง สารอาหาร และ ประโยชน์ของน้ำนมแม่ ในน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยมาก โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะได้ดังนี้ ระยะที่ 1: “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” จะผลิตออกมาในช่วง 1 –…
-
น้ำหัวปลี และ เครื่องดื่มบำรุงน้ำนมแม่ Mommylicious Juice อร่อย ทานง่าย
สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก สิ่งหนึ่งที่เป็นกังวลกันเสมอคือปริมาณน้อยเกินไป เมื่อเกิดความกังวล ย่อมส่งผลต่อสุขภาพและร่างกาย โดยเฉพาะหลังคลอดใหม่ๆ คุณแม่อาจมีอาการอ่อนเพลียอยู่แล้ว ซึ่งเราอยากให้คุณแม่สบายใจได้ว่าปัญหาน้ำนมน้อยนั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคนิคการเพิ่มน้ำนม และหนึ่งในเทคนิคการเพิ่มน้ำนมนั้นก็คือการทานน้ำหัวปลีนั่นเอง น้ำหัวปลีเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาของคนไทย ที่ช่วยบำรุงและเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่มายาวนาน แต่หลายคนอาจจะกังวลกับการทานน้ำหัวปลีหรือเครื่องดื่มบำรุงน้ำนม ทั้งในเรื่องของรสชาติ และน้ำตาลที่อาจจะส่งผลให้คุณแม่เป็นเบาหวานได้ วันนี้เราเลยอยากมาแนะนำเครื่องดื่มบำรุงน้ำนม และน้ำหัวปลี Mommylicious Juice ที่ดื่มง่าย อร่อย พกพาสะดวก และที่สำคัญไม่ต้องกลัวเบาหวานด้วยค่ะ น้ำหัวปลีรางวัล International Innovation Awards แบรนด์ Mommylicious Juice นำสูตรอาหารบำรุงน้ำนมตามความรู้ดั้งเดิมของไทย มาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มสมัยใหม่เพื่อเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ทุกคน โดยส่วนผสมหลักจากผักผลไม้ไทย เช่น หัวปลี ขิง มะเขือเปราะ ใบกะเพรา ฯลฯ โดยเครื่องดื่มน้ำหัวปลีผสมขิง มะเขือเปราะ และใบกะเพรา หรือ Super Huaplee Plus แบรนด์ มัมมี้ลิเชียสจูซ (Mommylicious Juice) ได้รับรางวัล สุดยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จาก International Innovation Awards…
-
วิธีเก็บน้ำนมแม่: เก็บรักษาสต็อกนมแม่ให้อยู่นานที่สุด
การเก็บรักษานมแม่ หรือที่เรียกกันว่าการสต็อกนมถือเป็นวิธีสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรทราบ เพราะหากเก็บรักษาหรือนำออกมาใช้อย่างไม่เหมาะสม นมที่เราอุตส่าห์ตั้งใจปั๊มไว้อาจจะเสียได้นะคะ Mommylicious Juice จึงอยากนำวิธีเก็บน้ำนมแม่ รักษาสต็อกน้ำนมแม่ให้อยู่นานที่สุดและการนำนมออกมาให้ลูกดื่มมาฝากกันค่ะ เก็บน้ำนมแม่ไว้ได้นานแค่ไหน? ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอุณหภูมิที่เหมาะสมค่ะ การเก็บนมนอกห้องแอร์ หากปั๊มนมแล้ววางไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติไม่ใช่ห้องแอร์ อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้ ภายใน 1 ชั่วโมง หากอุณหภูมิสูงกว่านั้น หรือปล่อยให้เกินเวลาจะทำให้เกิดเชื้อโรคปนเปื้อนในนมได้ค่ะ การเก็บนมในห้องแอร์ หากปั๊มนมวางไว้ในห้องแอร์ ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส น้ำนมเหล่านี้จะสามารถอยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมงค่ะ การเก็บนมในกระติกน้ำเเข็ง สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มจากที่ทำงาน หรือปั๊มนมจากนอกบ้าน การแช่นมในกระติกน้ำแข็ง ควรวัดให้มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถเก็บน้ำนมไว้ได้ 24 ชั่วโมง การเก็บนมในตู้เย็น ช่องธรรมดา การเก็บน้ำนมในช่องธรรมดาควรมีอุณหภูมิ ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถ เก็บน้ำนมไว้ได้ 5 วัน ช่องแช่แข็งตู้เย็นแบบประตูเดียว ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน -10…
-
หัวนมแตกทำยังไง? ดูแลหัวนมแตกด้วยเคล็ดลับจากคุณแม่ตัวจริง
สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคนการให้นมแม่กับลูกเปรียบเหมือนของขวัญล้ำค่า ที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแร็งและมีความสุข แต่บางครั้งการให้นมแม่ก็มาพร้อมกับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการเต้านมอักเสบ โดนลูกกัด หรืออาการหัวนมแตก Mommylicious Juice มีวิธีดูแลตัวเองเมื่อประสบปัญหาหัวนมแตกมาแนะนำค่ะ อาหารหัวนมแตกเป็นยังไง? คุณแม่จะรู้สึกเจ็บที่หัวนม หัวนมจะแข็ง แตก และอาจจะมีอาการเลือดออกร่วมด้วย มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมลูก หัวนมแตกเกิดจากอะไร? อาการหัวนมแตกของคุณแม่มีหลายสาเหตุดังนี้ 1.ลูกมีพังผืดบริเวณใต้ลิ้น หากพบว่าลูกมีพังผืดขึ้นที่บริเวณใต้ลิ้น ก็อาจส่งผลให้เมื่อลูกดื่มนมของคุณแม่แล้ว จะทำให้หัวนมของคุณแม่เกิดการแตกได้ค่ะ 2.ให้นมลูกผิดท่า การให้นมลูกแบบผิดท่า ก็สามารถทำให้หัวนมของคุณแม่แตกได้เช่นกัน เช่นการให้ลูกนอนตะแคงแบบไม่หันตัวไปในทางเดียวกันทั้งตัว หรือแม้แต่การจับลูกนอนหงายขณะกินนมแบบผิดวิธี 3.การปล่อยให้นมคัดตึง การที่คุณแม่ปล่อยให้เต้านมมีความคัดตึง โดยไม่มีการนวด หรือการปล่อยให้บริเวณลานนมมีความเเข็ง ก็จะทำให้หัวนมแตกได้เช่นเดียวกัน 4.ลูกดูดนมผิดวิธี การให้ลูกดูดนมโดยให้อมเพียงบริเวณหัวนม ก็อาจทำให้ลูกเกิดการเคี้ยวหัวนมด้วยเหงือก จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บ เกิดภาวะหัวนมแตก และอาจส่งผลให้เลือดออกได้ 5.การดึงเต้านมออกจากปากลูก อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดหัวนมแตกก็คือ การที่คุณแม่ดึงเต้านมออกจากปากลูก หลังจากที่ลูกทานนมเสร็จแล้วแบบผิดวิธี จึงทำให้เกิดการดึงรั้งไปที่หัวนมได้ค่ะ 6.ผิวบริเวณหัวนมแห้ง การที่คุณแม่ทำความสะอาดผิวบริเวณหัวนม ด้วยการใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง หรือการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม ก็จะส่งผลให้ผิวบริเวณหัวนมมีความแห้ง และเกิดอาการหัวนมแตกได้ค่ะ วิธีรับมืออาการหัวนมแตก ลองมาดูวิธีการรักษาอาการหัวนมแตก เพื่อให้คุณแม่สามารถให้น้ำนมแม่กับลูกน้อยได้อย่างสบายใจในทุกช่วงระยะของน้ำนมกันค่ะ 1.ดึงหัวนมออกจากปากลูกให้ถูกวิธี วิธีนี้สามารถทำได้โดยการ ทำการคลายการดูดของลูกออกก่อน แล้วจึงค่อยดึงหัวนมออกจากปากของลูกค่ะ 2.งดการใช้สบู่และแอลกอฮอล์ การใช้สบู่และแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม…
-
ท่อน้ำนมอุดตัน: สาเหตุและวิธีแก้ท่อน้ำนมตันจากคุณแม่ตัวจริง
ลูกน้อยก็เปรียบเสมือนเป็นของขวัญล้ำค่าแก่ครอบครัวของทุกคน และการให้นมแม่อันมีประโยชน์มหาศาลได้นานที่สุด ก็เป็นเหมือนของขวัญจากอกแม่ให้กับลูกน้อยทุกคน แต่ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันกลับเป็นปัญหาหลักที่คุณแม่หลายมักพบเจอ และสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน แล้วท่อน้ำนมอุดตันเกิดขึ้นจากอะไร อาหารที่คุณแม่ทานมีส่วนทำให้ท่อน้ำนมตันหรือไม่ แล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง วันนี้ Mommylicious Juice ได้นำความรู้ดีๆเกี่ยวกับปัญหานี้มาฝากกันค่ะ อาการของท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมอุดตัน คืออาการที่คุณแม่จะมีความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณเต้านม เมื่อลูกดูดนม เมื่อสัมผัสจะพบกับก้อนไต ที่มีลักษณะบวมและเเข็ง อาจพบ White Dot หรือจุดสีขาวบริเวณหัวนมร่วมด้วย เมื่อกดลงไปบนก้อนไตอาจจะรู้สึกเจ็บ แต่ไม่มีไข้ ส่งผลให้ เต้านมแข็งเป็นแผ่น หรือ มีก้อนไต หัวนมและลานนมผิดรูป อาจมีอาการเส้นเลือดปูด ลูกดูดนมไม่ออก หรือน้อยมากๆ สาเหตุของอาการท่อน้ำนมตัน สาเหตุของการเกิดอาการนี้อาจเกิดจาก ปริมาณน้ำนมมีมากเกินความต้องการของลูก และไม่ได้ถูกระบายออก จึงคั่งอยู่ในนม และเกิดก้อนไตเเข็งๆขึ้นมา น้ำนมมีความเข้มข้นมากเกินปกติ ลูกดูดนมไม่หมดเต้า การสวมเสื้อชั้นในที่รัดเกินไป ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ปล่อยให้เต้านมคัดเป็นเวลานาน ทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป แม้แต่ความเครียดสะสมก็มีส่วน เนื่องจากเมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการเจ็บเต้านมในระหว่างที่ให้นมลูก จิตใจของคุณแม่ก็จะเริ่มไม่อยากให้นมลูก จึงทำให้เกิดความเครียดขึ้นมานั่นเองค่ะ วิธีแก้ท่อน้ำนมตันเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด อาการน้ำนมตันนี้ นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่แล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการให้นมแม่ของคุณแม่ และเกิดอาการเต้มนมอักเสบได้ 1.ประคบอุ่น & ประคบเย็น…
-
นมแม่: คู่มือน้ำนมแม่เพื่อคุณแม่ทุกคน ครบถ้วนที่สุด อัปเดต 2021
น้ำนมแม่เป็นเหมือนของขวัญอันล้ำค่าชิ้นแรกของลูก กว่าที่ลูกคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาได้ คุณแม่ต้องดูแล รวมถึงให้น้ำนมดื่มกิน เพื่อสร้างการเจริญเติบโต รวมถึงสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก ให้แน่นแฟ้น ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลถึงสภาพร่างกาย และจิตใจของลูกไปถึงอนาคต Mommylicious Juice จึงอยากรวบรวมทุกเครื่องเกี่ยวกับนมแม่ เพื่อให้คุณแม่ทุกคนสามารถให้นมแม่ได้มากและนานที่สุดเพื่อลูกน้อย รวมถึงปัญหา เช่นท่อน้ำนมตัน หัวนมแตก หรือผมร่วงหลังคลอด ข้อควรระวัง และคำถามต่างๆ เส้นทางการให้นม ระยะก่อนคลอด คุณแม่ควรศึกษาหาความรู้ เรื่องนมแม่ และประโยชน์ต่างๆที่ลูกจะได้ รวมถึงวิธีการปั๊มนม การนวดเต้านม การเตรียมอาหารคนท้อง และหลังคลอด หรือเครื่องดื่มมัมมี้ลิเชียสจูซ เพื่อบำรุงร่างกายและน้ำนม การวางแผนการทำงานบ้าน หรือแม้แต่การเลือกโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการดื่มนมแม่เป็นต้นค่ะ เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว จะทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น เพราะได้รับการวางแผนมาแล้วนั่นเอง ช่วงหลังคลอด หลังลูกเกิดภายใน 1 ชั่วโมง ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าในทันที เพราะน้ำนมชุดเเรกหรือน้ำนมเหลืองที่ออกมา จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกมากทีเดียวค่ะ โดยควรฝึกการอุ้มลูกให้ถูกท่า และให้ลูกดูดนมลึกเข้าไปจนถึงลานนม ควรให้ลูกดูดนมแม่ให้บ่อยที่สุดเท่าที่ลูกจะต้องการ ได้ถึ ง8-12 ครั้ง ต่อวันเลยทีเดียวค่ะ และก่อนที่คุณแม่จะกลับบ้าน ควรบีบน้ำนมให้เป็น เพื่อที่จะสามารถบีบน้ำนมด้วยตัวเอง และลดอาการคัดเต้าได้ 1 เดือนแรก…