Tag: breastmilk stock
-
เปิดตำราอาหาร 8 เพิ่มน้ำนมเพื่อลูกน้อย จากคุณแม่ตัวจริง
คุณแม่หลายๆ คนคงจะได้ยินคำแนะนำจากคุณแม่รุ่นเก๋าระดับมืออาชีพกันมาบ้าง ว่าจากตำราในสมัยโบราณเชื่อว่าสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นอาหารเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับคุณแม่แล้วอาหารการกินเป็นเรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ก็จะต้องมีอาหารบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง และในบทความนี้ เราจะพาคุณแม่ทั้งหลายเข้าครัวเลือกวัตถุดิบเพื่อทำอาหารเพิ่มน้ำนม ให้น้ำนมมีคุณภาพและหลั่งดีมากขึ้น รวมไปถึงเคล็ดลับการบำรุงน้ำนมเพื่อส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกน้อย ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละอย่างหาซื้อได้ง่ายและเชื่อว่าหลายบ้านคงจะมีติดครัวกันอยู่แล้ว สาเหตุที่ทำให้คุณแม่น้ำนมน้อย ก่อนที่จะส่องวัตถุดิบอาหารเพิ่มน้ำนม คุณแม่ๆ คงจะอยากรู้ว่าต้นสายปลายเหตุของการหลั่งน้ำนมที่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยมีอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับแก้และดูแลอย่างถูกจุดมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมีได้ดังต่อไปนี้ ความเครียด ใช้ยาหรืออาหารเสริมเกินจำเป็น ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เต้านมไม่ได้รับการกระตุ้น เจ็บหัวนม (sore nipples) เต้านมคัด มีประวัติการผ่าตัดเต้านมมาก่อนหน้า ทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารน้อย หรือไม่เพียงพอ เปิดตำราพาคุณแม่หาวัตถุดิบอาหารเพิ่มน้ำนม 1. ใบกะเพรา วัตถุดิบแรก พาคุณแม่มาเริ่มต้นกันที่ผักคู่ครัวที่นอกจากจะเป็นเมนูโปรดของใครหลายคนแล้วยังมีสรรพคุณที่ดีเยี่ยม เพราะความร้อนจากใบกะเพราที่มีฟอสฟอรัส และแคลเซียมสูง สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มน้ำนมของคุณแม่ได้ รวมไปถึงหากลูกน้อยได้รับสารอาหารนี้ไปในน้ำนมจะช่วยทำให้ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อในเด็กได้อีกด้วย เมนูแนะนำ: ผัดกะเพรา หรือต้มจืดใบกะเพราหมูสับ 2. ขิง วัตถุดิบถัดมาเชื่อว่าคงอยู่คู่ครัวคนไทยข้างๆ กันกับวัตถุดิบแรก เพราะมีสรรพคุณเจ๋งๆ มากมาย ขิงเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ อย่างเช่นการช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดได้ดี มีวิตามินเอ บี 1 บี 2…
-
น้ำนมน้อยทำยังไงดี? พร้อมเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่
คงจะมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ที่กำลังประสบปัญหา น้ำนมน้อย ไม่เพียงพอให้ลูกรักดื่ม จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจสำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่าน เพราะกังวลว่าลูกน้อยจะรับสารอาหารสำคัญไม่เพียงพอ ซึ่งตามหลักทางโภชนาการแล้ว น้ำนมแม่ถือว่ามีสารอาหารสำคัญมากที่สุด เนื่องจากมีวิตามิน แร่ธาตุสำคัญ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กแรกเกิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของเด็กอีกด้วย วันนี้เราเลยอยากจะชวนคุณแม่ทุกท่านมาไขข้อข้องใจ ว่าปัญหาน้ำนมน้อยนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะมีเทคนิคเพิ่มน้ำนมคุณแม่อย่างไรให้ลูกรักดื่ม ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ น้ำนมแม่เกิดขึ้นได้อย่างไร ? กระบวนการการผลิตน้ำนมนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 โดยร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรแลคติน ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ทำให้เกิดกระบวนการผลิตน้ำนม แต่ยังไม่หลั่งออกมาเพราะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากเด็กทารกคอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งอยู่ หลังจากที่คุณแม่คลอดเด็กทารกแล้ว ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เคยหลั่งเพื่อสร้างเด็กทารกก็จะหลั่งน้อยลงจนหยุดลงในที่สุด ส่งผลให้กลไกการยับยั้งน้ำนมหายไป เมื่อลูกน้อยได้ดื่มก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินให้หลังมากขึ้น ซึ่งถ้ายิ่งหลั่งมาก ก็จะเกิดการผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นมากเท่านั้นนั่นเอง สารอาหาร และ ประโยชน์ของน้ำนมแม่ ในน้ำนมแม่มีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยมาก โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระยะได้ดังนี้ ระยะที่ 1: “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” “น้ำนมแรก” หรือ “น้ำนมเหลือง (colostrum)” จะผลิตออกมาในช่วง 1 –…
-
วิธีเก็บน้ำนมแม่: เก็บรักษาสต็อกนมแม่ให้อยู่นานที่สุด
การเก็บรักษานมแม่ หรือที่เรียกกันว่าการสต็อกนมถือเป็นวิธีสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรทราบ เพราะหากเก็บรักษาหรือนำออกมาใช้อย่างไม่เหมาะสม นมที่เราอุตส่าห์ตั้งใจปั๊มไว้อาจจะเสียได้นะคะ Mommylicious Juice จึงอยากนำวิธีเก็บน้ำนมแม่ รักษาสต็อกน้ำนมแม่ให้อยู่นานที่สุดและการนำนมออกมาให้ลูกดื่มมาฝากกันค่ะ เก็บน้ำนมแม่ไว้ได้นานแค่ไหน? ระยะเวลาในการเก็บน้ำนมแม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอุณหภูมิที่เหมาะสมค่ะ การเก็บนมนอกห้องแอร์ หากปั๊มนมแล้ววางไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติไม่ใช่ห้องแอร์ อุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้ ภายใน 1 ชั่วโมง หากอุณหภูมิสูงกว่านั้น หรือปล่อยให้เกินเวลาจะทำให้เกิดเชื้อโรคปนเปื้อนในนมได้ค่ะ การเก็บนมในห้องแอร์ หากปั๊มนมวางไว้ในห้องแอร์ ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส น้ำนมเหล่านี้จะสามารถอยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมงค่ะ การเก็บนมในกระติกน้ำเเข็ง สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มจากที่ทำงาน หรือปั๊มนมจากนอกบ้าน การแช่นมในกระติกน้ำแข็ง ควรวัดให้มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถเก็บน้ำนมไว้ได้ 24 ชั่วโมง การเก็บนมในตู้เย็น ช่องธรรมดา การเก็บน้ำนมในช่องธรรมดาควรมีอุณหภูมิ ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสามารถ เก็บน้ำนมไว้ได้ 5 วัน ช่องแช่แข็งตู้เย็นแบบประตูเดียว ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน -10…