fbpx

คู่มือแม่มือใหม่ เตรียมตัวก่อนคลอด

เด็กทาารกแรกเกิด

ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์เป็นช่วงใกล้คลอดแล้วมันก็จะตื่นเต้นๆหน่อยใช่มั้ยคะ อุ้มท้องกันมาตั้งนานจะได้เห็นหน้าเจ้าตัวเล็กกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็คงเริ่มเตรียมข้าวของเครื่องใช้เพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ของบ้าน วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนคลอดมาไว้ให้ศึกษากันค่ะ

 คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดดี?

ข้อดีของการคลอดธรรมชาตและการผ่าคลอด
คลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

การเลือกว่าจะคลอดลูกแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดคุณแม่ควรทำการตัดสินใจร่วมกับคุณหมอที่ดูแล เพราะต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยในการคลอดของทั้งแม่และลูก โดยการทำคลอดทั้งสองแบบนี้มีข้อดีต่างกันดังนี้

ข้อดีของการคลอดแบบธรรมชาติ

  1. ฟื้นตัวเร็ว เจ็บแผลน้อย
    การคลอดแบบธรรมชาติจะทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วกว่า เพราะไม่ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่นะคะ รวมถึงความเจ็บของแผลที่จะน้อยกว่าการผ่าคลอด
  2. ลูกมีภูมิคุ้มกันการคลอดแบบธรรมชาติ
    ขณะที่ลูกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด จะได้รับเชื้อที่จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับลูกได้ ทำให้ลูกมีสุขภาพที่เเข็งแรง และป่วยยาก
  3. ระบบการหายใจของลูกดี
    ขณะทำคลอดลูกร่างกายของลูกจะถูกบีบ และขับของเหลวอออกมา ทำให้ลูกสามารถหายใจได้ดี กว่าการคลอดแบบผ่า
  4. ราคาการคลอดธรรมชาติถูกกว่าการผ่าคลอด
    การคลอดแบบธรรมชาติไม่ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ จึงไม่ต้องเสียค่าผ่าคลอด ค่าบล็อกหลัง เป็นต้น จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการผ่าคลอด

ข้อดีของการผ่าคลอด

  1. กำหนดวันคลอดได้
    การผ่าคลอด จะทำให้คุณแม่สามารถกำหนดวันคลอดให้กับลูกได้ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถจัดวางตารางเวลาในการลาคลอด และการทำงานได้ และหากเชื่อเรื่องฤกษ์ยามก็สามารถเลือกวันเวลาที่เป็นฤกษ์ดีกับลูก
  2. ปลอดภัยกับคุณแม่ที่มดลูกไม่ขยายตัว หรืออุ้งเชิงกรานแคบ
    หากคุณแม่มีสรีระที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลอดแบบปกติ การผ่าคลอดจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย
  3. ปลอดภัยกับลูกที่ไม่กลับหัว
    ในกรณีที่ลูกไม่กลัวหัวจะมีอันตรายในคลอดแบบธรรมชาติ คุณแม่จึงจำเป็นต้องผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัย
  4. ปลอดภัยกับแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้ว
    คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดลูกคนแรกแล้ว เมื่อคลอดลูกคนต่อมาก็จำเป็นต้องผ่าคลอดเช่นกันเพื่อความสะดวก และปลอดภัยกับทั้งตัวคุณแม่และลูก
  5. ปลอดภัยกับแม่ที่มีโรคประจำตัว
    โดยโรคที่ไม่สามารถคลอดแบบปกติได้ ได้แก่ โรคความดันเลือดสูง หรือเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น

เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอด

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด
การปฏิบัติตัวให้แผลผ่าคลอดหายง่าย

สำหรับคุณแม่ทำการผ่าคลอด ก็จะต้องมีแผลผ่าตัด ที่ควรได้รับการใส่ใจดูแลให้ถูกต้อง ซึ่งเมื่อดูแลอย่างดี จะช่วยลดการเกิดแผลเป็น หรือแผลคีลอยด์ได้ โดยแผลผ่าคลอด ส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว ในช่วงแรกๆแผลจะเริ่มเป็นสีแดง และม่วงช้ำ ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน รอยแดงช้ำเหล่านั้นจึงจะค่อยๆจางลง สิ่งที่คุณแม่ควรทำเพื่อช่วยให้แผลหายเร็ว คือ

  1. เดินและขยับตัวให้เป็นปกติ
    ถึงแม้จะยังเจ็บมาก แต่เมื่อคุณหมอถอดสายสวนปัสสาวะออกแล้ว คุณแม่ควรลุกออกจากเตียง เดินไปเดินมาในห้อง อย่านอนติดเตียง เพราะการขยับตัวบ้าง จะช่วยให้หายเจ็บแผลเร็ว พยายามเดินให้ตรงเป็นปกติ จะได้หายเจ็บแผลทันกลับบ้าน
  2. งดยกของหนัก
    การยกของหนักจะทำให้รอยเย็บแผลปริและมีเลือดไหลซึมออกมาได้ เนื่องจากแผลยังสมานกันได้ไม่ดีพอ ควรงดการยกของหนักอย่างน้อย 2 เดือนจนกว่าแผลจะสมานกันดี
  3. อาบน้ำและซับแผลให้แห้ง
    ควรเลือกสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนเพื่อป้องกันการกัดผิวบริเวณแผล ในช่วงแรกไม่ควรแช่น้ำในอ่างเพราะจะเพิ่มโอกาสให้น้ำเข้าแผล และทำให้แผลหายช้า ควรซับแผลให้แห้งสนิทหลังอาบน้ำทันที เพื่อให้ป้องกันความอับชื้น
  4. ทานยาให้ครบ
    การทานยาจะช่วยให้แผลแห้งเร็ว และลดโอกาสในการติดเชื้อ หากคุณแม่ไม่ทานให้ตรงเวลา หรือครบเซตยาที่คุณหมอจัดให้ อาจเสี่ยงต่อการที่แผลกลับมาอักเสบอีก
  5. ดูแลแผลอย่าให้ชื้น ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
    ความชื้นจะทำให้แผลนั้นหายยาก และจะเกิดการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นความชื้นจากการอาบน้ำ หรือความชื้นจากเหงื่อ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดเกินไป เพราะจะทำให้แผลหายช้าหรือเกิดการเสียดสีจนอักเสบได้ ควรให้แผลได้โดนอากาศมากที่สุด
  6. ลูบแผลเบาๆ เพื่อให้เส้นประสาทเชื่อมกัน
    เมื่อแผลแห้งสนิทติดกันดีเรียบร้อยแล้ว ควรลูบแตะแผลเบาๆ เมื่อนึกได้ เพราะการผ่าตัดนั้นทำให้เส้นประสาทขาดออกจากกัน การสัมผัสแผลเบาๆ มันจะทำให้รู้สึกแปล๊บๆ เป็นการเร่งช่วยให้เส้นประสาทให้กลับมาเชื่อมต่อกัน

เช็คลิสต์จัดกระเป๋าเตรียมตัวไปคลอด

รายการสิ่งของในการจัดกระเป๋าไปคลอด
รายการของที่ควรเตรียมนำไปโรงพยาบาลด้วยเมื่อถึงเวลาคลอด

คุณพ่อคุณแม่อาจจะตื่นเต้นจนนึกไม่ออกว่าต้องเตรียมอะไรไปบ้าง เราจึงมีรายการสิ่งของที่ควรจัดเตรียมก่อนไปโรงพยาบาลมาให้เช็กความพร้อมกันค่ะ

จัดกระเป๋าไปคลอด: ของสำคัญของลูก

  • ผ้าอ้อม (แบบธรรมดา,แบบสำเร็จรูป)
  • หมวกคลุมศีรษะ ,ถุงมือ,ถุงเท้า
  • เสื้อผ้าสำหรับใส่กลับบ้าน
  • ผ้าเช็ดน้ำลาย
  • ผ้าห่ม
  • สำลี , ทิชชู่เปียก

จัดกระเป๋าไปคลอด: ของสำคัญของคุณพ่อ หรือคนนอนเฝ้า

  • เสื้อผ้า (ชุดธรรมดา,ชุดนอน)
  • ชุดชั้นใน
  • แปรงสีฟัน ,ยาสระผม
  • กล้องถ่ายรูป
  • แบตเตอรี่ , ที่ชาร์จโทรศัพท์และกล้อง

จัดกระเป๋าไปคลอด: เอกสารการคลอด

  • สมุดบันทึกการฝากครรภ์
  • บัตรประกันสุขภาพ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (คุณพ่อ,คุณแม่)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (คุณพ่อ,คุณแม่)
  • ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)

จัดกระเป๋าไปคลอด: ของสำคัญคุณแม่

เตรียมเต้าก่อนคลอด

ทารกดูดนมจากอกแม่
เตรียมความพร้อมให้นมลูก

การเตรียมความพร้อมก่อนคลอด นอกจากการจัดเตรียมสิ่งของต่างๆแล้ว การเตรียมตัวของคุณแม่ก็สำคัญไม่แพ้กัน รวมไปถึงการเตรียมเต้าให้พร้อมสำหรับเริ่มให้นมลูก ทางเรามีวิธีง่ายๆ ช่วยคุณแม่เตรียมเต้าให้หร้อใสำหรับการให้นมลูกมาแนะนำค่ะ

  1. งดทาครีมบริเวณหัวนม
    การทาครีมบนหัวนมอาจส่งผลให้ครีมเหล่านั้นเข้าไปอุดตันผิว และอุดตันท่อส่งน้ำนมได้ค่ะ และหากคุณแม่ทำการทาครีมในช่วงที่ลูกดูดนมด้วยแล้ว อาจส่งผลให้เกิดอาการหัวนมแตกง่ายขึ้น
  2. ดื่มน้ำหัวปลี ช่วง 2-4 สัปดาห์ก่อนคลอด
    อาหารบางอย่างช่วยกระตุ้นน้ำนมให้แม่ได้ โดยเฉพาะหัวปลี ซึ่งในปัจจุบันมัมมี้ลิเชียสจูซก็มีน้ำหัวปลีให้คุณแม่เลือกดื่มหลากหลายรสชาติ เพื่อให้คุณแม่บำรุงน้ำนมอย่างมีความสุข
  3. สังเกตรูปแบบของหัวนม
    การรู้ว่าหัวนมมีลักษณะอย่างไร ช่วยให้วางแผนการให้นมได้ดีขึ้น เพราะลักษณะเต้าและหัวนมแต่ละแบบอาจมีท่าที่ลูกดูดนมสะดวก และขนาดกรวยปั๊มนมที่เหมาะสมแตกต่างกัน
  4. นวดเต้านมเพื่อกระตุ้นน้ำนม
    การนวดเต้านมสามารถช่วยกระตุ้นน้ำนมให้กับคุณแม่ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยบรรเทาอาการคัดตึงเต้าได้ด้วย
  5. ศึกษาวิธีการจัดการกับน้ำนม
    การเรียนรู้เรื่องการปั๊มนม การเตรียมถุงนม วิธีการเก็บน้ำนม การใช้แผ่นซับน้ำนมที่ถูกต้อง และวิธีจัดการกับคราบน้ำนมล้วนเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาได้ก่อนคลอด
  6. ศึกษาวิธีการให้นมที่ถูกต้อง
    การให้นมก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าปริมาณน้ำนมที่แม่มี การเรียนรู้ท่าให้นมที่ถูกต้อง หรือปริมาณของน้ำนมที่ลูกต้องการในแต่ละช่วงอายุของลูก จะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดการกับน้ำนม สามารถกระตุ้นน้ำนมได้อย่างถูกวิธี และให้นมกับลูกได้เพียงพอกับความต้องการ

สุดท้ายนี้ คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจสบายๆ และรีบตักตวงเวลาส่วนตัวเอาไว้มากๆ เพราะเมื่อคลอดแล้วจะต้องใช้เวลาปรับตัวและปรับเวลากับเจ้าตัวน้อยไปอีกซักพักใหญ่เลยนะคะ มัมมี้ลิเชียสจูซขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านและครอบครัวค่ะ

ควรเลือกการคลอดลูกแบบไหนดีระหว่างการผ่าคลอดลูกและการคลอดลูกแบบธรรมชาติ

คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอและตัดสินใจร่วมกัน เนื่องจากสุขภาพและสรีระของคุณแม่บางท่านอาจไม่เหมาะกับการคลอดธรรมชาติ คุณหมออาจจะแนะนให้ทำการผ่าคลอด แต่หากคุณแม่และลูกในท้องแข็งแรงดีคุณหมออาจแนะนำให้คลอดตามธรรมชาติ

เตรียมตัวอย่างไรให้น้ำนมมาเร็วหลังคลอด

คุณแม่ศึกษาท่าให้นมที่ถูกต้อง และการนวดเต้ากระตุ้นน้ำนมไว้ก่อนได้ และควรบำรุงด้วยน้ำหัวปลีในช่วง 2-4 สัปดาห์ก่อนคลอด เพื่อให้มีน้ำนมหลังคลอด

หลังผ่าคลอดให้นมลูกได้หรือไม่

ได้ค่ะ หลังผ่าตัดคลอดแล้ว เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมพยาบาลจะนำลูกมาพบคุณแม่เพื่อเข้าเต้าค่ะ คุณแม่สามารถแจ้งความประสงค์ที่จะให้นมแม่กับทีมแพทย์และพยาบาลก่อนการผ่าตัดได้เลย

ควรเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัดคลอดหรือไม่

หลังการผ่าตัด ควรขยับตัวและช่วยเหลือตัวเองให้ได้ปกติที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อช่วยให้แผลหายไวขึ้น แต่ควรงดการยกของหนัก และงดออกกำลังกายหนักๆ เพื่อป้องกันแผลเปิด

Photo by Luma Pimentel and Fanny Renaud on Unsplash

Comments are closed.