คุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง หรือคนที่กำลังวางแผนจะมีลูก ทราบกันหรือไม่ว่า กฎหมายแรงงานของประเทศไทยนั้นมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง
#MommyliciousJuice ได้รวบรวมนำมาให้ได้อ่านกัน เพื่อให้ได้ทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงจะมีมาให้ทราบกัน
คนท้องขอเปลี่ยนงานได้
คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องที่คิดว่าสายงานของตัวเองมีงานหนักเกินไป หรือรู้สึกว่าอยากเปลี่ยนงานแบบชั่วคราวในระหว่างที่ท้อง สามารถขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่า คุณแม่ไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมต่อได้ เพื่อนำไปยื่นให้กับนายจ้างเพื่อขอเปลี่ยนงานชั่วคราวได้ โดยนายจ้างต้องเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้ หากไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษจำคุก หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ห้ามให้คนท้องทำงานในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น.
เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนท้องต้องได้รับการพักผ่อน โดยรวมถึงการทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด โดยถ้าหากหญิงตั้งครรภ์เคยทำงานในกะกลางคืน นายจ้างต้องเปลี่ยนช่วงเวลาในการทำงานเป็นกะกลางวันให้แทน ฉะนั้นคุณแม่ที่ทำงานกะกลางคืน สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนกะทำงานกับนายจ้างได้เลยนะคะ
คนท้องมีสิทธิลาเพื่อการคลอดบุตร
คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องสามารถลางาน เพื่อตรวจครรภ์และคลอดบุตรได้ ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง โดยนับรวมวันหยุดต่างๆเข้าไปด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเต็มเวลาเป็นเวลา 45 วัน โดยอีก 45 วันที่เหลือ คุณแม่สามารถขอสิทธิประโยชน์ทดแทนได้จากกองทุนประกันสังคมค่ะ
ห้ามเลิกจ้างหญิงตั้งท้อง
หากคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องโดนบริษัทเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใดๆ นายจ้างจะมีความผิดทางอาญา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ไม่นับรวมการเลิกจ้างด้วยเหตุผลอื่น เช่น การทุจริตต่อหน้าที่ หรือขาดงานติดต่อกันมากกว่าสามวัน ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้โดยนายจ้างไม่มีความผิด
ห้ามทำงานบางชนิด
ประเภทงานที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ห้ามทำ คือ งานประเภทแบกหาม หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนที่ติดไปตามยานพาหนะ และงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เป็นต้น
#คุณแม่ #มัมมี้ลิเชียสจูซ #น้ำหัวปลี #กระตุ้นน้ำนม #บำรุงนมแม่ #อาหารเพิ่มน้ำนม #น้ำขิงออแกนิค #น้ำขิง #น้ำหัวปลีออแกนิค #น้ำหัวปลี #น้ำปลีกล้วย #เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ #เครื่องดื่มบำรุงน้ำนม #อาหารคลีน #ลดน้ำหนัก #organic #gingerjuice #bananaflowerjuice #healthydrink #mommymusthave #mommyknowsbest #กฎหมายแรงงาน
One response to “กฎหมายแรงงานกับสิ่งที่คุณแม่ควรรู้”
[…] […]