fbpx

หัวนมแตกทำยังไง? ดูแลหัวนมแตกด้วยเคล็ดลับจากคุณแม่ตัวจริง

cracked nipple pain

สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคนการให้นมแม่กับลูกเปรียบเหมือนของขวัญล้ำค่า ที่จะช่วยให้เจ้าตัวน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแร็งและมีความสุข แต่บางครั้งการให้นมแม่ก็มาพร้อมกับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นอาการเต้านมอักเสบ โดนลูกกัด หรืออาการหัวนมแตก Mommylicious Juice มีวิธีดูแลตัวเองเมื่อประสบปัญหาหัวนมแตกมาแนะนำค่ะ

อาหารหัวนมแตกเป็นยังไง?

คุณแม่จะรู้สึกเจ็บที่หัวนม หัวนมจะแข็ง แตก และอาจจะมีอาการเลือดออกร่วมด้วย มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมลูก

หัวนมแตกเกิดจากอะไร?

อาการหัวนมแตกของคุณแม่มีหลายสาเหตุดังนี้

1.ลูกมีพังผืดบริเวณใต้ลิ้น

หากพบว่าลูกมีพังผืดขึ้นที่บริเวณใต้ลิ้น ก็อาจส่งผลให้เมื่อลูกดื่มนมของคุณแม่แล้ว จะทำให้หัวนมของคุณแม่เกิดการแตกได้ค่ะ

2.ให้นมลูกผิดท่า

การให้นมลูกแบบผิดท่า ก็สามารถทำให้หัวนมของคุณแม่แตกได้เช่นกัน เช่นการให้ลูกนอนตะแคงแบบไม่หันตัวไปในทางเดียวกันทั้งตัว หรือแม้แต่การจับลูกนอนหงายขณะกินนมแบบผิดวิธี

3.การปล่อยให้นมคัดตึง

การที่คุณแม่ปล่อยให้เต้านมมีความคัดตึง โดยไม่มีการนวด หรือการปล่อยให้บริเวณลานนมมีความเเข็ง ก็จะทำให้หัวนมแตกได้เช่นเดียวกัน

4.ลูกดูดนมผิดวิธี

การให้ลูกดูดนมโดยให้อมเพียงบริเวณหัวนม ก็อาจทำให้ลูกเกิดการเคี้ยวหัวนมด้วยเหงือก จึงทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บ เกิดภาวะหัวนมแตก และอาจส่งผลให้เลือดออกได้

5.การดึงเต้านมออกจากปากลูก

อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดหัวนมแตกก็คือ การที่คุณแม่ดึงเต้านมออกจากปากลูก หลังจากที่ลูกทานนมเสร็จแล้วแบบผิดวิธี จึงทำให้เกิดการดึงรั้งไปที่หัวนมได้ค่ะ

6.ผิวบริเวณหัวนมแห้ง

การที่คุณแม่ทำความสะอาดผิวบริเวณหัวนม ด้วยการใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง หรือการใช้แอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม ก็จะส่งผลให้ผิวบริเวณหัวนมมีความแห้ง และเกิดอาการหัวนมแตกได้ค่ะ

การดูแลหัวนมแตกเพื่อคุณแม่ที่ให้นมลูก

วิธีรับมืออาการหัวนมแตก

ลองมาดูวิธีการรักษาอาการหัวนมแตก เพื่อให้คุณแม่สามารถให้น้ำนมแม่กับลูกน้อยได้อย่างสบายใจในทุกช่วงระยะของน้ำนมกันค่ะ

1.ดึงหัวนมออกจากปากลูกให้ถูกวิธี

วิธีนี้สามารถทำได้โดยการ ทำการคลายการดูดของลูกออกก่อน แล้วจึงค่อยดึงหัวนมออกจากปากของลูกค่ะ

2.งดการใช้สบู่และแอลกอฮอล์

การใช้สบู่และแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดหัวนม แล้วเปลี่ยนมาใช้สำลีสะอาด ชุบน้ำต้ม แล้วเช็ดให้รอบเต้านม จะดีที่สุดค่ะ

3.นวดเต้านมไม่ให้แข็งตึง

คุณแม่ควรนวดเต้านม และลานนมบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เต้านมมีความนิ่มขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยให้น้ำนมไหลดี ป้องกันอาการท่อน้ำนมตันอีกด้วยค่ะ

4.ใช้น้ำนมทาที่หัวนม

การใช้น้ำนมจากนมของคุณแม่เอง นำมาทาบริเวณหัวนม จะช่วยให้ผิวมีความนุ่ม ชุ่มชื้นและลดความเสี่ยงในการเกิดหัวนมแตกได้ค่ะ

5.ให้นมลูกให้ถูกท่า

ท่าให้นมที่ถูกต้องคือ การให้ลูกดูดนมลึกเข้าไปถึงลานนม ไม่ควรดูดเพียงแค่หัวนม จะทำให้ลูกสามารถดูดนมได้ดีขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการหัวนมแตกค่ะ

6.สลับข้างดูด

หลังจากการนวดเต้านมแล้ว คุณแม่ควรเลือกเต้านมข้างที่มีความเจ็บน้อยที่สุด เพื่อให้ลูกได้ทานนม แล้วสลับเปลี่ยนข้าง โดยใช้เวลาการดูดข้างละ ไม่เกิน 15 นาที ขณะที่ลูกกำลังดูดนมอีกข้าง ก็อาจใช้ผ้าอุ่นประคบ เพื่อลดอาการปวดและลดการเกิดหัวนมแตกนั่นเองค่ะ

หัวนมแตกสามารถให้นมลูกได้หรือไม่?

ที่จริงแล้วหัวนมแตกไม่ได้มีผลกระทบต่อลูกโดยตรง จึงไม่ได้ต้องหยุดให้นม แต่อาจจะส่งผลให้มีเลือดปนออกมาจนอุจจาระของลูกมีเลือดปน หรือว่าสำรอกออกมาได้ และถ้ามีอาการหัวนมแตกต่อเนื่องอาจจะส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่ลูกได้รับได้ อาจจะต้องใช้การปั๊มนมร่วมไปด้วยในระหว่างที่มีอาการหัวนมแตก

แค่หัวนมแตกต้องไปพบแพทย์หรือเปล่า?

คุณแม่สามารถดูแลอาการหัวนมแตกได้เองที่บ้านตามวิธีทางด้านบน แต่ถ้ามีอาการอย่างต่อเนื่อง เจ็บจนทนไม่ไหว มีไข้ ดูมีการอักเสบติดเชื้อ ก็ควรจะดำเนินการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

และถ้าคุณแม่พร้อมแล้วที่จะให้นมแม่ต่อไป มาบำรุงน้ำนมกับเครื่องดื่มบำรุงน้ำนม Mommylicious Juice นะคะ 🙂

หัวนมแตกทำยังไง?

การรักษาและบรรเทาอาการหัวนมแตกนั้นทำได้หลายวิธี เช่นการจัดท่าลูก เปลี่ยนวิธีทำความสะอาด สลับข้างให้ลูกดูด ฯลฯ รายละเอียดเพิ่มเติมในบทความค่ะ

มีอาการหัวนมแตกแล้วต้องหยุดให้นมหรือไม่?

โดยปกติแล้วคุณแม่ไม่ได้ต้องหยุดให้นม และสามารถให้นมได้ปกติ และหากมีอาการเลือดออกปนมา อาจจะทำให้มีเลือดปนมาในอุจจาระหรือสำรอกของลูกได้ และถ้าเจ็บเกินไป สามารถปั๊มนมคู่กันไปได้

ต้องไปพบแพทย์หรือเปล่า ถ้ามีอาการหัวนมแตก?

โดยปกติแล้วคุณแม่สามารถดูแลรักษาหัวนมแตกได้ด้วยตนเอง แต่ถ้ามีอาการเจ็บปวดต่อเนื่อง มีไข้ขึ้น ดูเหมือนจะอักเสบหรือติดเชื้อ แนะนำว่าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดค่ะ

2 responses to “หัวนมแตกทำยังไง? ดูแลหัวนมแตกด้วยเคล็ดลับจากคุณแม่ตัวจริง”

Leave a Reply